Page 425 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 425
407
“จิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าไม่มีอะไร” ได้ จะดีมาก ๆ แสดงว่าสติดีมาก ๆ เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้แยบคาย อย่าสักแต่ว่ารู้ ตามดู สักแต่ว่าอย่างเดียว รู้ว่ามีแล้วก็ผ่านไป รู้ว่าอันนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจ รู้ว่ามีเวทนาเกิดขึ้น มองข้ามไป รู้ว่ามีความเบาเกิดขึ้น มองข้ามไป อันนั้น ไม่ดี! จะเป็นการฝึกให้ตัวเองดูอะไรแบบไม่แยบคาย ปัญญาของเรา ความ ลึกซึ้งในสภาวะ ก็จะไม่ปรากฏ การรับรู้รายละเอียด เขาเรียกว่า “ธัมมวิจยะ”
การสอดส่องธรรม
เมื่อพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับเราไม่ละเอียด ไม่แยบคาย
ความเข้าใจในสภาวธรรม ความเข้าใจในอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็จะน้อย เมื่อเรา ไม่รู้และไม่เข้าใจ ไม่เห็นตามความเป็นจริงในสภาวธรรมที่เกิดขึ้น อะไรจะ ปรากฏขึ้น ? อุปาทานก็จะเกิดขึ้นมา ความเข้าใจผิด โมหะ การหลงยึดติด ในอารมณ์เหล่านั้นก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ทุก ๆ อารมณ์ ทุก ๆ สภาวะที่ เกิดขึ้น จึงต้องมีสติกาหนดรู้ให้ชัด แม้ที่เราเรียกว่านิวรณ์
“นิวรณ์” มี ๕ อย่าง มี พยาบาทปฏิฆะ อุทธัจจกุกกุจจะ ถีนมิทธะ กามราคะ วิจิกิจฉา แต่ตัวที่เป็นนิวรณ์สาหรับเราก็คือ “ความง่วง” เวลา ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่าความง่วงเกิดขึ้น คือจิตเราไม่ตื่นตัว พอเริ่มสงบก็เริ่ม ง่วง เริ่มมีความคิดเข้ามาเบา ๆ เบา ๆ เหมือนความคิดเข้ามากล่อมแล้วเรา ก็ง่วง แม้แต่ความง่วงนักปฏิบัติก็ต้องกาหนดรู้ พอเริ่มรู้ว่าง่วง ให้เอาจิต เข้าไปกาหนดความง่วง เข้าไปแล้วขยายความง่วงนั้นให้กว้างไกลออกไปเลย ขยายออกไปไกล ๆ เท่าท้องฟ้าไปเลย ให้กว้างไกลออกไปจนรู้สึกว่าความ ง่วงหายไป
ขณะที่เราง่วง การกาหนดรู้อารมณ์ต่าง ๆ จะไม่ชัดเจน แสดงว่าสติ เราอ่อนลง บางครั้งมีสมาธิดีแต่สติอ่อน ก็ทาให้ง่วงได้ เขาเรียก “สติกับ สมาธิไม่สมดุลกัน” จะทาให้จิตไม่ตื่นตัว จิตไม่ตื่นตัว เขาเรียก “อินทรีย์ ๕ ไม่สมดุลกัน” ก็จะทาให้เกิดความรู้สึกว่ากาหนดอารมณ์ได้ไม่ชัด ปัญญาไม่