Page 427 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 427

409
จิตเราไปรู้ ไปอยู่ตรงนั้นแล้ว นั่นเป็น “อารมณ์ปัจจุบัน” สาหรับจิตของเรา เพราะฉะนั้น จึงต้องกาหนดรู้ถึงการเกิดดับของสภาวะนั้นไป
อย่างเราตามลมหายใจเข้าหายใจออก บางทีลมหายใจก็รู้สึก เวทนา ก็รู้สึก แต่บางทีเวทนามันแหลมขึ้นมา ชัดกว่าลมหายใจ ลมหายใจเริ่ม เบาลง เบาลง... แล้วเวทนามันชัดมันเด่นขึ้นมา แต่ลมหายใจก็ยังมี ถ้าเวทนา ไม่รบกวนและยังสามารถกาหนดอาการเกิดดับของลมหายใจได้อยู่ ก็กาหนด อาการเกิดดับของลมหายใจไป แต่ถ้าตามกาหนดรู้ลมหายใจไม่ได้ พอเริ่ม ตามกาหนดได้หน่อยหนึ่ง ความปวดก็รบกวนชัดเข้ามา ตรงนั้นให้เลือกไป กาหนดความปวดแทนที่จะไปดูลมหายใจ เพราะอะไร ? เพราะความปวด เป็นอธิบดี ความปวดชัดที่สุด ชัดกว่าลมหายใจ ความปวดจึงเป็นอารมณ์ ปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องไปกาหนดรู้อาการเกิดดับของความปวดแทน
“การเลือกอารมณ์” จะรู้ว่าอารมณ์อันไหนเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ให้ สังเกตดูว่าอารมณ์ไหนที่ “ชัดที่สุด” ในความรู้สึกเรา อารมณ์ไหนที่ชัดที่สุด ในความรู้สึกเรา อารมณ์นั้นแหละจะเป็นอารมณ์ปัจจุบัน เลือกง่าย ๆ เลือก “อารมณ์ที่จิตไปรับรู้” สังเกตดูดี ๆ เราจะเห็นว่าอารมณ์ที่ชัดที่สุดก็คือ อารมณ์ที่จิตเข้าไปรับรู้ในขณะนั้น เรา “สนใจ” สิ่งนั้น อารมณ์นั้นถึง “ชัด” ขึ้นมา นั่นแหละ!
สังเกตดี ๆ เราจะเห็นว่า ถึงแม้เราไม่อยากดู แต่จิตมันก็ไป “เกี่ยว ข้อง” บางอารมณ์บางสภาวะ อย่างเช่นยกตัวอย่าง ความปวดที่ปรากฏขึ้น มา เราไม่อยากดูเลย อยากกาหนดอาการเกิดดับอย่างอื่นมากกว่า อยากจะ รู้อาการเกิดดับของความคิด แต่ความปวดก็เด่นชัดขึ้นมา ดูความคิดก็ไม่ชัด กาหนดอาการเกิดดับอย่างอื่นก็ไม่ชัด ทั้ง ๆ ที่เราไม่ใส่ใจความปวด แต่ความ ปวดก็ชัดขึ้นมา ถ้าสังเกตดี ๆ เราจะเห็นว่า ทุกครั้งที่ความปวดชัดขึ้นมา จิต เราก็จะไปที่ความปวดแล้ว
เพราะฉะนั้น อารมณ์ไหน “ชัดที่สุด” ในความรู้สึกเรา อารมณ์นั้นจึง


































































































   425   426   427   428   429