Page 426 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 426

408
เกิด ศรัทธากับปัญญาเป็นของคู่กัน สมาธิกับความเพียรเป็นของคู่กัน แต่ สติยิ่งมีมากยิ่งดี เพราะฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติจึงต้องมีสติให้มาก
ทาอย่างไรสติเราถึงจะดี ? เราใส่ใจที่จะรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นข้าง หน้าเราให้ชัด ดูให้ชัด! สังเกตดู คนเราถ้าดูอะไรเดิม ๆ เดิม ๆ ไปเรื่อย ๆ เราก็จะเคลิ้มเคลิ้มแล้วไม่ตื่นตัว ไม่ตื่นเต้น ถ้าเมื่อไหร่เราพิจารณาถึง “ความแตกต่าง” ของอารมณ์ที่ปรากฏอยู่ข้างหน้าเรา เห็นการเปลี่ยนแปลง อยู่เรื่อย ๆ เห็นความแปลกใหม่ จิตก็จะมีความตื่นตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือ มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น เวลาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จิตจึงต้องมี “ความตื่น ตัว” พิจารณารู้อยู่กับอาการเกิดดับของรูปนามที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าเรา ใน ขณะนี้ เดี๋ยวนี้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง อึดอัด โล่ง โปร่ง เบา สบาย มีความสุข ไม่ว่าอารมณ์ไหนเกิดขึ้นก็ต้อง “รู้ ชัด” มีอาการเจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน ปรากฏขึ้นมา ก็ต้องรู้ชัด แต่ให้ “เลือก รู้ทีละอย่าง”
ถ้าขณะที่เรานั่งอยู่ แล้วมีหลาย ๆ อารมณ์ ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กัน คาว่า “หลาย ๆ อารมณ์” อย่างเช่น มีอาการปวด ก็ปวดหลาย ๆ จุด หลาย ๆ ที่ เราก็เลือกกาหนดทีละจุด แต่ละที่ไปก่อน หรือขณะที่เรากาหนดลมหายใจ อยู่ แล้วมีความคิดเกิดขึ้นด้วย เห็นลมหายใจด้วย เห็นความคิดด้วย ก็ต้อง เลือกสักอย่างหนึ่ง จะดับความคิดก่อนหรือจะกาหนดลมหายใจ อันนี้เขา เรียก “เลือกอารมณ์”
เราสามารถเลือกอารมณ์เองได้ ถ้าในขณะที่เราปฏิบัติธรรม แล้วมี หลาย ๆ อารมณ์เข้ามารบกวน ให้เลือกอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ถ้าอารมณ์ เหล่านั้นมีความชัดเจน มีกาลังเท่ากัน ให้เลือกเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แต่ถ้าอารมณ์เหล่านั้นชัดไม่เท่ากัน อารมณ์ใดที่ชัดกว่าเพื่อน เราก็เลือก กาหนด “อารมณ์ที่ชัดที่สุด” เพราะอะไร? เพราะอารมณ์ที่ชัดที่สุด หมายถึงว่า


































































































   424   425   426   427   428