Page 428 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 428

410
เป็น “อารมณ์ปัจจุบัน” เป็นอารมณ์ที่เราต้องกาหนดรู้ ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของอารมณ์นั้น ไม่ว่าอารมณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ชั่วขณะหนึ่ง หรือตั้งอยู่ตลอดเวลาก็ตาม อาจจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ประมาณสัก ๑๐ วินาที แต่ภายใน ๑๐ วินาที เขาเกิดดับตลอดเวลา ก็ถือว่านั่นเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ในขณะนั้นที่ชัดที่สุด เมื่ออารมณ์นั้นหมดไป ค่อยกลับมาดูอารมณ์หลักใหม่ ถ้ากาหนดลมหายใจอยู่ ก็ให้กลับมาดูลมหายใจใหม่ ถ้ากาหนดอาการเกิด ดับข้างหน้าอยู่ ก็ให้กลับมาดูใหม่
คาว่า “อาการเกิดดับ” เป็นอย่างไร ? บางทีไม่เข้าใจ ขออธิบายนิด หนึ่งว่า “อาการเกิดดับ” ในที่นี้ก็คือ อาการเกิดดับของ “รูปนาม” นั่นเอง เป็น อาการเกิดดับของลมหายใจ เป็นอาการเกิดดับของเวทนา เป็นอาการเกิดดับ ของความคิด อาการเกิดดับของสี แสงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาการเกิดดับของ เสียง อาการเกิดดับของความปวด อาการคัน อาการเกิดดับของเสียงที่ ได้ยิน... อย่างใดอย่างหนึ่ง อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ นั่นแหละที่ ปรากฏชัดขึ้นมา เพราะฉะนั้น ให้เราพิจารณาดี ๆ ว่า ขณะนี้เรากาลังตามรู้ ดูอาการเกิดดับของอารมณ์ไหนอยู่ ดูให้ชัด
การที่เราพิจารณารู้ดูให้ชัด พิจารณาให้ดี หรือพิจารณาโดยแยบคาย มีตัว “มนสิการ” คือ ใส่ใจพิจารณา ตรึกตรอง ในสภาวธรรมนั้น ๆ ที่ปรากฏ ขึ้นมา เขาเรียก “ธัมมวิจยะ” หรือการวิจัยธรรม การสอดส่องธรรม รู้ตาม ความเป็นจริง ตามสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เราคิดว่า น่าจะ น่าจะใช่ น่าจะใช่... ไม่ใช่อย่างนั้น! ให้รู้ในสิ่งที่เขาเป็นจริง ๆ ว่าเขาเป็นอย่างนี้ เห็นแล้ว อ๋อ! เขาเป็นอย่างนี้ พอกาหนดตามรู้ไป อ๋อ! เป็นอย่างนั้น เห็นแล้วว่าเขาเปลี่ยน อย่างนี้ เปลี่ยนอย่างนั้น พอพูดถึง “ความไม่เที่ยง” ก็เข้าใจได้ทันที รู้ได้ทันที อ๋อ! ไม่เที่ยงเป็นอย่างนี้เอง! ที่บอกว่าเกิดแล้วดับ เป็นอย่างนี้เอง!
เราบังคับไม่ให้ดับได้ไหม ? อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นมา เราบังคับให้ตั้ง อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาได้หรือเปล่า ? ไม่ได้! บังคับให้ดับก็ไม่ได้ แต่ “เข้า


































































































   426   427   428   429   430