Page 430 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 430
412
กายใช้ยาบ้าง ใช้อาหารบ้าง เพื่อการดูแลรักษา แต่ “ทุกข์ทางใจ” ทาอย่างไร ให้ถึงความดับทุกข์ ? ทุกข์ทางใจเกิดจากอะไร ? เกิดจากอวิชชา เกิดจาก อุปาทาน ฉะนั้น วิธีดับก็คือ ต้อง “ดับที่อุปาทาน”
“อุปาทาน” เกิดขึ้น เพราะอะไร ? เพราะความไม่รู้ “ไม่รู้” อะไร ? ไม่รู้ว่ารูปนามนี้ไม่มีตัวตน รูปนามไม่ใช่ของเรา เพราะฉะนั้น วิธีดับก็คือ “ดับความรู้สึกว่าเป็นเรา” เอาตัวตนออก เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก ดับ ความเป็นเรา เหลือแต่ “รูปกับนาม” ที่มีการดาเนินไปตามเหตุปัจจัยอยู่ เนืองนิตย์ จิตก็จะผ่องใส เบิกบาน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะมีความสงบ ไม่ทุกข์ไปกับอารมณ์เหล่านั้น แค่เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก ดับความรู้สึก ว่าเป็นเราเป็นเขา นั่นคือ “ดับอัตตา” หรือ “ดับตัวตน”
พูดง่ายทายาก ถ้าไม่รู้วิธีทา! แต่จะให้ดียิ่งขึ้น ให้สติเรายิ่งมีกาลัง มากขึ้น สมาธิยิ่งดีขึ้น จึงต้องมาฝึกจิตเราบ่อย ๆ ฝึกบ่อย ๆ ทาบ่อย ๆ พิจารณาบ่อย ๆ ให้รู้ซึ้ง รู้จริง เห็นจริง ตามที่สภาวธรรมนั้นปรากฏขึ้นมา และประกาศให้เรารู้ ให้เราเห็น ความเป็นอนิจจังก็ต้องรู้จริง ๆ ความเป็น ทุกขังก็ต้องรู้ในลักษณะเห็นชัดจริง ๆ ว่าเกิดแล้วต้องดับ มีแล้วต้องดับ ไม่มีอะไรไม่ดับ จิตก็จะคลายจากอุปาทาน
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรม การเจริญวิปัสสนา เป้าหมายสาคัญ จึงต้องพิจารณารู้ “การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” ของรูปนาม และเพื่อให้มีความ ละเอียดมากขึ้น เพื่อให้แยบคายยิ่งขึ้น การกาหนดรู้ถึงอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จึงต้องรู้ด้วยว่า แต่ละอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนั้น “เกิดและดับ ในลักษณะอย่างไร” บางครั้งเขาเกิดแบบพุ่งขึ้นมา ผุดขึ้นมา หรือพุ่งออกไป หรือค่อย ๆ เข้ามาแล้วเลือนหายไป ตรงนี้คือลักษณะอาการเกิด บางครั้ง มีกระจาย ระยิบระยับ หรือมีอาการสลายเหมือนพยับแดด อันนี้แหละคือ ลักษณะของอาการเกิดดับ ที่เรียกว่า “ลักษณะอาการพระไตรลักษณ์”
อาการพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเรียก