Page 431 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 431
413
อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เขาเรียกว่า ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ การบังคับบัญชาไม่ได้ นักปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้แยบคาย พิจารณาให้ดี อย่าสักแต่ว่าดู สักแต่ว่าเห็น ต้องพิจารณาให้ดี! สังเกตดู เมื่อเราพิจารณา กาหนดรู้ถึงอาการเกิดดับมาก ๆ สภาพจิตเราเป็นอย่างไร ? จิตใจเราเป็น อย่างไร ? ใสขึ้นไหม ? สงบขึ้นไหม ? นิ่งขึ้นไหม ? เบาขึ้นไหม ? สว่างขึ้น หรือเปล่า ? ตรงนี้แหละ เขาเรียก “ดูสภาพจิต” ไปด้วยในตัว การปฏิบัติ ธรรมจึงต้องพิจารณาให้แยบคาย แต่ไม่ใช่บังคับ ไม่ใช่ “อยาก” ให้เขาเป็น แต่ให้ “รู้” ในสิ่งที่เขาเป็น รู้ให้ชัด เพราะธรรมชาติเขาประกาศตัวเขาอยู่แล้ว ว่าเป็นอย่างไร
ขอใหเ้ ราตงั้ ใจพจิ ารณาใหด้ ี ขอใหเ้ ราตงั้ ใจ... จากนไี้ ป ๒๐ นาทอี าจารย์ จะไม่บรรยาย ให้เราพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้นต่อหน้าเรา ข้างหน้าเรา จริง ๆ หลังจากนั้น ถ้ามีสภาวธรรมอะไรปรากฏขึ้นมา สงสัย อยากถาม ให้ ถาม แล้วก็ใครจะเล่าสภาวะต่อ ก็ค่อยเล่าสภาวะต่อจากนั้น จะได้สนทนา ธรรม จะได้มีความเข้าใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ (ช่วงที่ ๑)
เวลา เรานั่งปฏิบัติทุกครั้ง ต้องมี “อารมณ์หลัก” ให้กับจิตเรา เพื่อ ให้จิตเราได้ตามกาหนดรู้ เพื่อให้จิตเรามีที่อยู่ มีที่เกาะ เพื่อให้สติเรามีความ ต่อเนื่อง อารมณ์หลัก ๆ ในการปฏิบัติขณะนั่ง บางคนกาหนดลมหายใจเข้า ออก บางคนก็กาหนดอาการพองยุบ ไม่ว่าจะกาหนด “ลมหายใจเข้าออก” หรือกาหนด“อาการพองยุบ” ก็ตาม สิ่งที่ต้องตามรู้ก็คือว่า ถ้าเรากาหนด ลมหายใจเข้าออก ให้เอาสติหรือจิตตามรู้ลมหายใจเข้าออกนั้น พร้อมกับ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของลมหายใจเข้าออก
อย่างเช่น เวลาหายใจเข้า ลมหายใจเรามีลักษณะอย่างไร ? เป็นเส้น เข้าไป หรือเป็นคลื่น หรือมีอาการสะดุด หรือเป็นกลุ่มฝอย ๆ หรือเป็นบาง ๆ