Page 432 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 432
414
เบา ๆ เข้าไป ? สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า ถ้าหากหายใจเข้าแล้วมันยาว ก็ตาม ให้ตลอดจนสุด ลมหายใจสุดแล้ว เขามีอาการหยุดไปก่อนไหม ก่อนที่จะ ออกมา ? เวลาหายใจออก ก็เอาจิตตามออกมาด้วย จนอาการลมหายใจนั้น สิ้นสุดลง ไม่ว่าลมหายใจนั้นจะยาวหรือจะสั้นแค่ไหนก็ตาม ให้จิตตามรู้ ให้ตลอด แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง ขณะที่หายใจเข้าสุดลง เขามีอาการ หยุดก่อนไหม ก่อนที่จะออกมา ? ขณะที่หายใจออก ลมหายใจนั้นมีการ สิ้นสุดหรือหมดไปก่อนไหม ก่อนที่จะหายใจเข้า ? ขณะที่หายใจเข้า เขาเป็น คลื่นหรือกระเพื่อม หรือว่าเป็นเส้นลงไป ? เป้าหมาย คือ การกาหนดรู้การ เปลี่ยนแปลงของอาการของลมหายใจ
คนที่กาหนดอาการพองยุบ ก็กาหนดพิจารณาในลักษณะเดียวกัน คือ กาหนดการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของพองยุบ ขณะที่เราหายใจเข้า ท้อง พองออก หายใจออก ท้องยุบลง เวลาหายใจเข้า ท้องพองออก เขาเป็นคลื่น ออกไป หรือเป็นเส้น หรือเป็นก้อน ๆ ออกไป ? พอพองสุด เขามีอาการ หยุดก่อนไหม ก่อนที่ยุบลงมา ? พอหายใจออก ท้องยุบลง เขามีอาการยุบ ยุบค่อย ๆ ยุบไป หรือยุบทีเดียว แล้วก็หยุดไปเลย ? พิจารณารู้การ เปลี่ยนแปลงของพองยุบ อันนี้คืออารมณ์หลักของจิต
อารมณ์หลัก ๆ ที่จิตเราต้องตามกาหนดรู้ มี “ลมหายใจ” หรือ “พองยุบ” อย่างใดอย่างหนึ่ง ใครถนัดอย่างไรก็ให้ตามอาการนั้น ใครตาม ลมหายใจได้ชัด ก็ตามลมหายใจไป ใครเห็นอาการพองยุบได้ชัด ก็กาหนด อาการพองยุบไป อีกอารมณ์หนึ่งที่เขาจะเกิดขึ้นเวลาเรานั่งปฏิบัติก็คือ “เวทนา” ที่เรียกว่า ความปวด อาการชา อาการคัน พอนั่งไปสักพัก เขาจะ เกิดขึ้น อันนี้เป็นอารมณ์หลักอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะทาอย่างไร ?
เราก็มีหน้าที่กาหนดรู้การเกิดดับหรือเปลี่ยนแปลงของเวทนานั่นแหละ ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปกลัว ไม่ต้องปฏิเสธ ให้มีสติตามกาหนดรู้ว่าเขา เกิดและดับในลักษณะอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงไหม หรือนิ่ง ๆ เฉย ๆ