Page 444 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 444

426
ที่จะรู้อาการเกิดดับของเขาเท่านั้น เราไม่มีอานาจเข้าไปบังคับไม่ให้เขาเกิด เพราะเขาเกิดขึ้นแล้ว หน้าที่ของเราคือ ตามกาหนดรู้ดูอาการเกิดดับของเขา และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเกิดขึ้นแล้ว เราไปบังคับเมื่อไหร่ เราจะกระสับกระส่าย แล้วจะอึดอัด จิตจะไม่สงบ ไม่ผ่องใส จิตก็จะมีกิเลสเกิดขึ้นมา การตามรู้ แบบนั้นทาให้เราเป็นทุกข์ มีตัวตน มีความอยากเกิดขึ้น ก็จะทาให้เราไม่สงบ จะทาให้จิตใจขุ่นมัว กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน ราคาญ
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าจะรู้สึกดีไม่ดีเกิดขึ้นก็ตาม เรามีหน้าที่กาหนดรู้ว่า ที่ไม่ดีเกิดขึ้นแล้วหายอย่างไร ที่ดีเกิดขึ้นมาแล้ว เปลี่ยนอย่างไรเมื่อมีสติเข้าไปรู้ ทั้งสภาวะที่ดีและไม่ดีก็มีการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราเห็นการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ก็จะทาให้สติเราดีมาก ขึ้น นิ่งขึ้นด้วย ถึงแม้สภาวะที่ไม่ดีเกิดขึ้น เมื่อเราไปรู้การเปลี่ยนแปลง จิตเรา ก็จะเปลี่ยนเป็นจิตที่ดีทันที ปัญญาเราเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น “ให้พอใจ” ตามรู้ ดูให้ชัดว่าเป็นอย่างไร ถ้ารู้สึกว่าจิตเราเริ่มมัว ๆ สลัว ๆ คล้าย ๆ จะง่วง อาการข้างหน้าไม่ชัดเจน ก็ไปรู้ความสลัวก่อน ไปดับอาการสลัว เอาจิตเข้าไป ที่ความสลัว แล้วขยายมันออกให้กว้าง ให้ไกลออกไป ให้กว้างออกไป หลุด จากห้องไปเลย จะได้โปร่งขึ้น โล่งขึ้น สว่างขึ้น จิตจะได้ตื่นตัวขึ้น
เวลาเรานั่งปฏิบัติแล้วมีเวทนาขึ้นมา เราต้องมีขันติ มีความอดทน ความอดทนนามาซึ่งตบะ ความอดทนเป็นธรรมเครื่องเผากิเลส ขันติ ปรมัง ตโป ตีติกขา ขันติคือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง กิเลส ตัวไหนเกิดขึ้นก็ตาม เมื่อเรารู้ แล้วเราไม่คล้อยตาม มีความอดทน มีความ ตั้งมั่น สักพักมันก็ดับไปเอง แต่เวทนาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการนั่ง สมาธิ อันนี้ไม่ได้เกิดจากกิเลส แต่เป็น “เหตุ” ให้กิเลสเกิดได้
ไม่ได้เกิดจากกิเลส เกิดจากอิริยาบถของเรา เกิดจากการกดทับ เกิด จากผัสสะกายสัมผัสกับพื้น กับวัตถุ มีจุดกระทบขึ้นมา ก็มีเวทนาเกิดขึ้น จะมากจะน้อยแล้วแต่ เพียงแต่ว่าถ้ามีเวทนาเกิดขึ้น หลักสาคัญเลยก็คือ


































































































   442   443   444   445   446