Page 445 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 445

427
ต้องแยกออกระหว่าง “เวทนา” คือความปวด ความเมื่อย อาการชา อาการ คัน กับ “ความรู้สึก” คือจิตที่ทาหน้าที่รู้เวทนา ให้แยกออกจากกัน ให้ “เห็น” เป็นคนละส่วนกัน กาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วน ไม่ใช่คิดว่าเป็นคนละ ส่วนนะ
ถ้าเราคิดว่าเป็นคนละส่วน จิตเราก็ยังทรมาน แต่ถ้าเห็นว่าเป็นคน ละส่วนกัน ระหว่างจิตกับความปวด จิตเราจะไม่ทรมาน จะไม่กระสับ กระส่าย ไม่วุ่นวาย จิตจะผ่องใส จิตจะสว่าง จิตจะนิ่ง มั่นคง ให้แยกส่วน ในลักษณะอย่างน้ี ที่แยกส่วนได้ก็คือ การกาหนดรู้ ดูที่จิตก่อน เมื่อไหร่ที่ เราดูที่จิต แล้วเราพิจารณาว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนาที่เกิดขึ้น เป็นส่วน เดียวกันหรือคนละส่วน ตรงนี้ต้องมี “เจตนา” นะ ถ้าไม่มีเจตนาที่จะ กาหนดรู้ในลักษณะอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเห็นความแตกต่างได้ว่า จิตกับ เวทนาเป็นอันเดียวกันหรือคนละส่วน
แต่ถ้าเรามีเจตนาที่จะรู้ ก็จะเห็นชัด เห็นว่าจิตเป็นอย่างหนึ่ง เวทนา เป็นอย่างหนึ่ง แล้วก็พิจารณาต่อไปว่า “จิตที่ทาหน้าที่รู้” กับ “เวทนา” เขาอยู่ ใกล้กันหรืออยู่ไกลกัน ? อยู่ชิดกันหรืออยู่ห่างกัน ? อันนี้เป็นการพิจารณา รายละเอียดเพิ่มขึ้น จากนั้นก็พิจารณาดูว่า เวทนาที่เกิดขึ้น เกิดอยู่ที่ไหน ? เกิดอยู่ที่หัวเข่า หรือเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ? เกิดอยู่ที่หลัง หรือเกิดอยู่ในที่โล่ง ๆ ที่สงบ ? ถึงแม้ว่าเราจะรู้บริเวณที่เขาเกิด อาจจะรู้ว่าบริเวณหลัง แต่พอดูไป จริง ๆ กลับไม่มีหลัง มีแต่ว่าง ๆ มีแต่โล่ง ๆ ถ้าเป็นอย่างนั้น เขาเรียกว่า “เห็นเวทนาเกิดอยู่ในที่โล่ง ๆ ว่าง ๆ”
เมื่อเห็นเป็นอย่างนั้นแล้ว สังเกตว่า มีใครเป็นผู้เสวยเวทนานั้นไหม ? มคี วามรสู้ กึ วา่ เปน็ เราหรอื เปลา่ ? หรอื วา่ มแี คจ่ ติ ทา หนา้ ทรี่ เู้ ทา่ นนั้ เอง ? มี “เรา” เป็นผู้รู้ หรือ มีแค่ “จิต” ที่ทาหน้าที่รู้เวทนาที่เกิดขึ้น ? ถ้าเห็นว่ามีแค่จิตที่ทา หน้าที่รู้เวทนาที่เกิดขึ้น เราก็สังเกตต่อไปว่า จิตขณะนั้นเป็นอย่างไร ? สภาพ จิตใจขณะนั้นรู้สึกอย่างไร ? รู้สึกใส ๆ รู้สึกโปร่ง ๆ รู้สึกสงบ รู้สึกเฉย ๆ


































































































   443   444   445   446   447