Page 447 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 447

429
เกิดแล้วดับยังไง เกิดแล้วดับยังไง นี่คือการพิจารณากาหนดรู้ความคิด ถ้า กาหนดอย่างนี้ ไม่นานความคิดก็จะลดน้อยลงโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ ต้องปฏิเสธความคิด ไม่ต้องไปวุ่นวายกับความคิด ไม่ต้องกังวลกับเรื่องที่คิด แค่ “พอใจ” ที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิด อันนี้คือหลักในการ ต่อสู้กับความคิด ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ จิตเราจะไม่สับสน ไม่วุ่นวาย
และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ขณะที่กาหนดความคิด อย่าคิดว่าต้องให้ เขาหายเร็ว ๆ จะได้ไปกาหนดอย่างอื่น อย่าคิดว่าต้องให้เขาหมดไปเร็ว ๆ จะได้ไปรู้อาการเกิดดับอย่างอื่น ถ้าอาการเกิดดับอย่างอื่นไม่เกิด มีแต่ความ คิดอย่างเดียว แม้จะเป็นทั้งชั่วโมง ก็ต้องกาหนดอาการเกิดดับของความ คิดทั้งชั่วโมงแหละ ถ้าเขาเกิดเร็วขึ้น เราก็เร็วขึ้น เป็นการฝึกสติอย่างดี อาการ เกิดดับหรือสภาวะที่เกิดมาเร็ว ๆ ให้เรารับรู้ จงคิดไว้อย่างหนึ่งว่า เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้นมาให้เราตามรู้ ให้เราฝึกสติได้เป็นอย่างดีเลย เอามาเป็นอารมณ์ กรรมฐานได้เป็นอย่างดี
ยิ่งเร็ว เรายิ่งนิ่ง ยิ่งเร็ว เรายิ่งนิ่ง... ยิ่งนิ่งมากขึ้น ก็จะรู้ทันมากขึ้น ไม่ต้องวิ่งตาม เวลากาหนดอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกิด หมด เกิด หมด... หรือไหล ๆ ไปเรื่อย ๆ หรือวุบ ๆ ๆ ๆ เข้ามา จนไม่สามารถ กาหนดได้ทัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ขอให้นิ่งมากขึ้น เพิ่มความนิ่ง เพิ่มความนิ่ง แล้วสังเกตเขา เพิ่มความนิ่งแล้วดู เพิ่มความนิ่งแล้วดู ทาอย่างนี้สติก็จะ มีกาลังมากขึ้น สมาธิมีกาลังมากขึ้น ต่อไปก็จะกาหนดทันได้เอง ถ้าเรา ติดตามอย่างต่อเนื่องไม่คลาดสายตา แต่ว่าไม่ใช่ไปบังคับ ไม่ต้องไปบังคับ จะได้ไม่มีตัวตน แต่ “พอใจ”ที่จะกาหนดรู้ นั่นคือ “ตัวฉันทะ”
ถ้ามีตัวฉันทะ มีความพอใจ และให้กว้างกว่าอารมณ์ จิตเราก็จะ มีกาลังเพิ่มขึ้น สติเรามีกาลังเพิ่มขึ้น การกาหนดสภาวะ การกาหนดอารมณ์ การเกิดดับต่าง ๆ ก็จะชัดเจนขึ้นด้วย ดังนั้น ก็ให้เราทั้งหลาย จงตั้งใจ พิจารณากาหนดรู้สภาวะที่อยู่ข้างหน้าเรา อาจจะเป็นสี เป็นแสง เป็นเวทนา


































































































   445   446   447   448   449