Page 446 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 446
428
หรือรู้สึกกระสับกระส่าย ?
ขณะที่เห็นว่าเวทนาตั้งอยู่ในที่ว่าง ๆ โล่ง ๆ สังเกตว่า สภาพจิตใจ
เราเป็นยังไง ? มีเราเป็นผู้รับเวทนานั้นไหม ? หรือว่า เวทนาก็สักแต่เวทนา ความปวดก็สักแต่ว่าความปวด ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ตั้งอยู่ในที่ว่าง ๆ และ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการเกิดดับอยู่เรื่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ เรื่อย ๆ เดี๋ยวหนักขึ้น เดี๋ยวเบาลง เดี๋ยวช้าลง เดี๋ยวเร็วขึ้น เดี๋ยวเป็นจุด เดี๋ยวเป็นก้อน เดี๋ยวสลายไป เดี๋ยวคลายไป ? นั่นหน้าที่ของเรา ให้กาหนด รู้ในลักษณะอย่างนั้น เรียกว่า กาหนดรู้การเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้น การตั้ง อยู่ การดับไปของเวทนา
ความคิดก็เช่นเดียวกัน ความคิดที่เกิดขึ้น ใหม่ ๆ อาจจะไม่ทัน ไม่ ทันไม่เป็นไร แต่พอรู้แล้ว ต้องสังเกตว่า พอรู้ว่าคิด ความคิดมันดับยังไง ? พอรู้ว่าคิด ความคิดหายไปทันที ? รู้ว่าคิด ความคิดเลือนไป จางไป หาย ไป ? หรือว่า พอรู้ว่าคิดปุ๊บ มันก็แตกกระจายไป ? นี่คือรู้ลักษณะอาการดับ ของความคิด ถึงแม้ไม่ทันตอนเกิด แต่ถ้าความคิดนั้นเกิดต่อเนื่อง... ต่อ เนื่อง... ตลอด มาเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ อันนี้หมดไป อันใหม่ก็เกิดต่อ เรื่องนี้ หมดไป เรื่องใหม่ก็เกิดต่อ...
เมอื่ เปน็ อยา่ งนนั้ วธิ กี า หนดความคดิ ใหไ้ ปรทู้ ี่ “จดุ เกดิ ” ของความคดิ อันนี้หมดไป อันใหม่จะเกิดแล้วนะ อันนี้หมดไป ไปดูจุดเกิดความคิดใหม่ ที่จะเกิดขึ้นมา ให้รู้จุดเริ่มต้นของความคิด ไปรู้ตรงจะเริ่มใหม่ เริ่มใหม่ เริ่ม ใหม่ ไม่ต้องไปกังวลว่าคิดเรื่องอะไร เพราะคิดแค่เสี้ยววินาที เราก็รู้แล้วว่า คิดเรื่องอะไร คิดถึงคน ภาพคนจะปรากฏ คิดถึงงาน เรื่องงานก็ปรากฏ คิดถึงบ้าน บ้านก็ปรากฏขึ้นมา คิดถึงอะไร มโนภาพนั้นก็ปรากฏ มันผุดขึ้น มาในใจของเรา
เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดขึ้นตาแหน่งไหน ก็ให้มี “สติ” หรือเอา “ความ รู้สึก” ไปเฝ้าดูตาแหน่งนั้นแหละ เขาจะเกิดขึ้นตอนไหน เกิดแล้วดับยังไง