Page 45 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 45

27
เกิดขึ้น จะมีหลากหลายแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น “สังเกตให้ดี” และอีกอย่างหนึ่งเป็นสิ่งสาคัญ เมื่อกี้ที่ถามว่า นั่งสักพักรู้สึกเป็น ยังไง ? พวกเรานั่งมานานแล้ว เป็นชั่วโมงกว่า พออาจารย์ให้ต่ออีกนิดหนึ่ง ก็กลายเป็นว่าเป็นตัวเพิ่มที่มากไป หมายถึงว่าเวทนาเริ่มเกิด เริ่มอยู่ไม่เป็นสุข แล้ว แทนที่จะนั่งอย่างเป็นสุข ก็เริ่มไม่เป็นสุขแล้ว เริ่มขยับ.. เริ่มขยับ... จากที่จิตสงบ ใส ๆ อยู่ ก็จะเริ่มไม่นิ่งแล้ว ขยับเคลื่อนไหวเพื่อที่ปรับสภาพ นั่นคือเวทนาเกิดขึ้นแล้ว... นั่งนานไหมปกติ ? ไม่นานนะ ขอบัลลังก์ละ ๑ ชั่วโมง ไม่มากไม่น้อย บัลลังก์ละ ๑ ชั่วโมง เพราะเราเคยปฏิบัติมาแล้ว คน
ที่ยังไม่เคย เดี๋ยวก็เคย!
เพราะฉะนั้น เรานั่งใน ๑ ชั่วโมง สิ่งที่เป็นอุปสรรคกับเราก็คือ
ความคิดกับความปวด อย่างเมื่อกี้ที่นั่งแล้วรู้สึกปวดเมื่อย วิธีกาหนดความ ปวดหรือกาหนดเวทนา ขอให้เราพิจารณาอย่างนี้นะ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความ ปวดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะปวดที่หลัง ที่ไหล่ ที่หัวเข่า หรือส่วนไหนของร่างกาย ก็ตาม สิ่งที่ต้องกาหนดรู้เบื้องต้น คือให้สังเกตดูว่า จิตเรากับความปวด เขา เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ? และให้สังเกตว่า จิตเรากับความปวด อยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละที่ ? สังเกตแบบนี้นะ ถ้าสังเกตแบบนี้ เราจะบอก ตัวเองได้ว่าจิตเป็นอย่างไร และความปวดเป็นอย่างไร
จากนั้นก็ให้สังเกต เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าจิตเราอ่อนกาลัง หรือสติเรา อ่อนกาลัง สู้กับความปวดไม่ได้ เวทนามีกาลังแก่กล้า ถ้าอยู่ใกล้เกิน แล้ว เราทนไม่ไหว ให้ “ถอยจิต” เราออกมา ถอยจิตเราออกมา แล้วเป็นผู้ดูนิ่ง ๆ ถอยออกมา ถอยไกลขนาดนี้ก็ได้ แล้วถ้าจิตยังรู้สึกว่าแคบ ถอยมาแล้วแต่ จิตยังเล็กกว่าความปวด ความปวดมันจะเป็นก้อนขึ้นมา เป็นแท่งขึ้นมา จิต เราแค่นี้เอง เป็นผู้ดูเล็ก ๆ นี่ ให้ “ขยายจิต” อย่างที่บอก ให้จิตเรากว้างกว่า ตัว จาได้นะ ? ให้จิตเรากว้างกว่าตัว กว้างออก กว้างออก... แล้วนิ่ง แล้ว สังเกตว่าเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มก้อน ในเวทนาที่เป็นกลุ่มก้อน


































































































   43   44   45   46   47