Page 47 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 47
29
เรานะ เราเป็นผู้ดูอยู่ แม้แต่ตัวผู้ดูยังไม่บอกว่าเป็นเราเลย เพราะฉะนั้น เวทนากับจิต ก็จะเป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าทนไม่ได้จริง ๆ ก็ขยับ เพียงแต่ ว่าเวลาเราเปลี่ยนอิริยาบถ ให้มี “สติ” รู้ เวลาจะขยับมือก็ต้องรู้ สติต้องอยู่ ที่มือทันที รู้สึกถึงอาการเคลื่อนของมือ เราจะขยับนิดหนึ่ง เราก็รู้ แล้วเมื่อ ขยับปุ๊บ เวทนานั้นเปลี่ยนอย่างไร ? ค่อย ๆ คลายไป หรือว่าเป็นยังไง ? อันนี้สังเกตความต่อเนื่อง ให้สังเกตในลักษณะอย่างนี้ นี่คือ “วิธีสู้กับเวทนา”
ที่บอกว่า ๒ อย่างที่รบกวนเรา คือ เวทนากับความคิด ความคิด ก็ บอกแล้วว่า มีเจตนารู้ว่าเขาเกิดดับอย่างไร “เกิดแล้วดับอย่างไร เกิดแล้ว ดับอย่างไร” ให้มีเจตนาแบบนี้ แล้วการปฏิบัติของเราก็จะเป็นไปด้วยดี อันนี้ เข้าใจแล้วนะ พรุ่งนี้เดี๋ยวอาจารย์จะถาม ใครทาได้ไม่ได้ ไม่เป็นไร ไม่ผิด ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ผิดหรอก มีแต่ดีกับดี! เพราะฉะนั้น ให้มีสติกาหนดรู้ พอใจที่จะรู้ เขาเรียก “ตัวฉันทะ”
ฉันทะ คือ ความพอใจ ทุกครั้งที่เราไม่พอใจกับสิ่งอะไรที่เกิดขึ้น เรา ก็จะเป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ดี คนที่ไม่เคยพอใจกับอะไรเลยก็หา ความสุขยาก เพราะฉะนั้น วิธีที่จะหาความสุขได้ง่ายที่สุดก็คือ “พอใจใน ความไม่ทุกข์ของตัวเอง ที่ปรากฏขึ้นในแต่ละขณะ แต่ละขณะ” ส่วนมากเรา ไม่ค่อยเห็นความไม่ทุกข์ของตัวเอง เห็นแต่ความทุกข์ บางครั้งไม่ทุกข์ ไม่ ใส่ใจ ลองสังเกตดูนะ เข้าใจขึ้นนะ ?
เดินจงกรมเป็นแล้วนะ ? เป็นแล้ว เวลาเดินจงกรม ก็เอามือไว้ข้าง หน้า หรือข้างหลังก็ได้ มือขวาจับมือซ้ายแล้วก็เดิน ค่อย ๆ ก้าว ไม่ต้องรีบ เราไม่ได้ไปทางาน ไม่ได้แข่งกับเวลา แต่เรามี “งานพิเศษ” ต้องทา ทางาน อยู่ตรงนี้ งานที่อาศัยความสงบ งานที่อาศัยความละเอียด งานที่อาศัยความ ตั้งใจ ที่จะรู้ว่าอาการเหล่านี้เปลี่ยนอย่างไร เกิดดับยังไง งานของจิตเป็นงาน ที่ละเอียดอ่อน เพราะฉะนั้น เราอาศัยความเร่าร้อนไม่ได้ ต้องอาศัยความ สงบ ความเย็น แล้วจะเห็นถึงความพิเศษของจิตของเรา