Page 46 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 46
28
ลองสังเกตดี ๆ ว่า เขานิ่งสนิทหรือมีการเคลื่อนไหว ?
สมมติว่า ถ้าตรงกลางเวทนาที่ปวดมาก ๆ เขาเป็นแสงใส ๆ ขึ้นมา
รอบ ๆ นี้ปวดมากเลยนะ แต่ตรงกลางความปวดเป็นจุดใส ๆ เกิดขึ้น แล้ว มีอาการกระพริบอยู่ กระพริบเล็ก ๆ ๆ ๆ นิดหนึ่ง นิดหนึ่ง.. ให้ไปสนใจ อาการเกิดดับที่ปรากฏอยู่ข้างในเวทนา ไม่ต้องไปดูความปวด นี่คือเจตนา ต่างกันนะ ไปรู้ว่ามันปวดมากนี่ จิตเราจะอยู่ตรงนี้ เข้าไม่ถึง กับเจตนาที่จะ ไปรู้อาการเกิดดับของความปวด ที่ในความปวดเขามีอาการแวบขยับเบา ๆ เบา ๆ นิดหนึ่ง นิดหนึ่ง... ถ้าไปรู้ตรงนี้ ความทรมานก็จะน้อยลง ถึงแม้ว่า ความปวดจะชัด
และอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งตรงกลางความปวดกลางเวทนา ไม่มี อาการเกิดดับเลย แต่รอบ ๆ ขอบ ๆ ความปวดก้อนนั้น เขาจะมีอาการ เคลื่อนไหวนิดหนึ่ง นิดหนึ่ง... ให้เรารู้ทีละนิด ทีละนิด ทีละนิด อย่ามุ่งไป ตรงกลาง ถ้ามุ่งไปตรงกลางเมื่อไหร่ แย่! เราจะรู้สึกไม่ไหว ไม่ไหว ไม่ไหว เราก็จะทนไม่ได้ แต่จาไว้อย่างหนึ่งว่า เราไม่ได้จะเอาชนะความปวด แต่จะ เข้าไปรู้ว่าความปวดนั้น มีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร ทนเท่าที่เรารู้สึกจะทนได้ ตามความสามารถของเรา ถ้าเราอยากมีขันติมากขึ้น
ถ้าเราอยากจะทนได้ ใช้วิธีง่าย ๆ ๑) พอใจที่จะดู ๒) สู้ สู้ที่จะดู สู้ ที่จะรู้ ไม่ใช่สู้เพื่อเอาชนะเวทนา เราสู้ที่จะดูว่า เป็นไปอย่างไร เกิดดับยังไง ดูสิว่าจะเปลี่ยนยังไง ดูสิว่าเขาจะเป็นยังไงต่อ แค่นี้! อย่าไปรู้ว่า ดูสิว่ามัน จะปวดไปถึงไหน ปวดมากแค่ไหน พอเป็นอย่างนั้นแล้ว เราก็เริ่มกัดฟันกัน หน้าเริ่มนิ่วคิ้วขมวดละ เริ่มชักตึงขึ้นมา สู้อย่างมีตัวตนกับสู้ด้วยปัญญา สู้ อย่างไม่มีตัวตน เพราะเวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา
เมื่อมีเวทนาทางกายเกิดขึ้น อย่าให้เวทนานั้นทาให้จิตเราเศร้าหมอง ขุ่นมัว เพราะอะไร ? เพราะอาจารย์ให้สังเกตดูว่า จิตเรากับเวทนา เป็นส่วน เดียวกันหรือคนละส่วน เราจะเห็นได้ว่า “เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา” ไม่ใช่