Page 450 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 450

432
อย่างเดียว ความหมายของคาว่า “ทุกข์” เขาตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิด แล้วต้องดับไป มีอะไรบ้างที่เกิดรอบตัวเรา แล้วตั้งอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ? แม้แต่โลกของเรายังเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะดับ ร่างกายของเรา ล ม ห า ย ใ จ ก เ็ ป ล ยี ่ น แ ป ล ง ต ล อ ด เ ว ล า เ ก ดิ แ ล ว้ ด บั เ ก ดิ แ ล ว้ ด บั . . . อ ย ต่ ู ล อ ด เ ว ล า นั่นแหละเขาเรียกว่า “ลักษณะของความทุกข์” ในความหมายของการตั้งอยู่ ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ทุกข์ใจ แต่เป็นลักษณะของความทุกข์ พอเราเห็น ว่าเขาเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ... ถามว่า บังคับให้เขาอยู่นิ่ง ๆ ตลอดเวลา ได้ไหม ? ก็ไม่ได้อีก ทีนี้ เราพยายามบังคับให้เขานิ่ง แล้วเราก็เหนื่อย พระพุทธเจ้าถามพระภิกษุ “ควรหรือที่จะเข้าไปยึดว่าเป็นตัวเราของเรา ?”
ไม่ควร ใช่ไหม ? ไม่ควร !
รูปคือร่างกาย เวทนาคือความรู้สึก เจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน แล้วก็
ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกเฉย ๆ เหล่านี้ก็ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เราจะพยายามอุเบกขากับทุกเรื่องในชีวิตของเราไม่ได้หรอก เพราะอยู่ที่ เหตุปัจจัยของเขา คาว่า “อุเบกขา” นี่เขาเรียกเป็นเหมือนพรหม เป็นผู้ใหญ่ เราจะอุเบกขาทุกเรื่องไม่ได้ ขาดเมตตา เพราะฉะนั้น ต้องมี ๔ อย่าง มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้วถ้าเราจะอุเบกขาทุกเรื่อง ลูกเราจะอยู่ยังไง ? เจอะหน้าลูกก็เฉย ๆ ไม่รู้สึกรู้สา ไม่ยินดี ไม่มีความรักให้ ลูกจะเป็นยังไง ? เป็นคนไม่ได้ เป็นหุ่นยนต์เสียแล้ว ไม่ก็เป็นหุ่นกระบอกเสียแล้ว ไม่รู้สึกรู้สา
แต่ความเป็นอุเบกขาหรือความเป็นผู้ใหญ่ก็คือ เมตตาในสิ่งที่ควร เมตตา ในเวลาที่ควรเมตตา เฉยในเรื่องที่ควรเฉย อุเบกขาในเรื่องที่ควร อุเบกขา เพราะฉะนั้น ชีวิตเราก็จะมีชีวิตชีวา ไม่ใช่หุ่นยนต์ นี่แหละคือ รู้จัก อุเบกขา รู้จักเมตตา รู้จักสงสาร รู้จักยินดีกับความดี พอลูกทาดี บางทีพ่อ แม่ดีใจกว่าลูกเสียอีก เขาเรียก “ยินดีเมื่อเขาได้ดี” กับลูกของเราเรายินดีได้ ลูกคนอื่นก็ต้องยินดีได้ด้วย กับใครก็ตาม... การที่เรายินดีกับความดีของผู้ อื่น นั่นเป็นการยกระดับจิตของเราให้สูงขึ้น เห็นไหม จิตเราเปลี่ยนแปลง


































































































   448   449   450   451   452