Page 451 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 451

433
ตลอดเวลา ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพียงแต่ให้รู้ เขาเรียก “พอใจ” เรารู้ว่า อ๋อ! เป็นอย่างนี้เอง เป็นอย่างนี้เอง เป็นอย่างนี้เอง... แล้วเรา ก็ “เออ! ช่างมันเถอะ!” เขาเรียก “ช่างมัน ช่างมัน ช่างมัน” บางคนเขาเรียก “ชั่งหัวมัน” ราคาไม่แพงหรอก โลละสองสามบาท ชาวไร่เขาจะรู้ เพราะ ฉะนั้น เราช่างมัน! บางเรื่องเขาเรียก “มองข้ามอารมณ์” ที่ให้เห็นความไม่ เที่ยงนี่ ที่นั่งอยู่ตรงนี้ ที่บอกว่าจิตเราเดี๋ยวสงบ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เราบังคับไม่ ได้ ที่จริงแล้ว “พอใจ” ที่จะรู้ไปเรื่อย ๆ ตรงนี้ แล้วเราก็เริ่มสงบ อันนี้คือ ความจริงของจิตเรา อย่างหนึ่งทาหน้าที่คิด อีกอย่างหนึ่งทาหน้าที่รู้ หน้าที่ เขา ๒ อย่าง ร่างกายนี้เขาไม่ทาหน้าที่รู้อะไรหรอก ทาตามจิตอย่างเดียว
แล้วแต่จิตเราจะสั่งให้ทา
อีกอย่างหนึ่งที่บอก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ ๕
ร่างกายของเรา เป็นของไม่เที่ยง ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดแล้วดับไป มีแล้วหมดไปหายไป เมื่อมันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนี้ เราควรทาใจ ยังไง ? อันนี้แหละเป็นสิ่งสาคัญ นิดเดียวเอง! เมื่อเขาเป็นธรรมชาติของ เขาอย่างนั้น ควรทาตัวยังไงถึงจะไม่ทุกข์กับธรรมชาตินั้น ? เพราะธรรมชาติ ตรงนี้ ก็เหมือนดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตก ร่างกายของเราเกิด ขึ้นมาแล้วก็เป็นไปตามวัฏจักร วิถีของเขา ว่าเป็นไปอย่างนี้แหละ ที่บอก ว่า พอดวงอาทิตย์ขึ้น แดดจ้าร้อนจัดนี่ กางร่ม! นั่นคือวิธีป้องกัน ไม่ใช่ไป โกรธดวงอาทิตย์ ชี้หน้าด่าดวงอาทิตย์ ทาไมต้องร้อนขนาดนี้! นั่นก็ไม่ใช่อีก ตรงนี้เขาเรียก “ใช้ปัญญา” เราแก้ที่ตัวเรา
เพราะฉะนั้น อารมณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราก็เหมือนกัน พอเข้ามา ทาอย่างไรเราถึงจะไม่ทุกข์ หรือทุกข์ให้น้อยที่สุด ? “เราแก้ที่ตัวเรา” แก้ที่ตรง ไหน ? ไม่รู้ก็ทาให้รู้ จะได้รู้! บางทีรู้แล้วแต่ก็ยังทุกข์ ใช่ไหม ? รู้อยู่แล้วแต่ ก็ยังทุกข์ เรารู้แบบไหนถึงทาให้ทุกข์ ? เรารู้ว่าเขาไม่ดี แล้วไม่พอใจเขา เราก็ ทุกข์! ถ้าเรารู้ว่าเขาไม่ดี ไม่เกี่ยวกับเรา เราก็ไม่ทุกข์! เห็นไหม นิดเดียวเอง!


































































































   449   450   451   452   453