Page 470 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 470

452
สิ่งสาคัญคือ ให้สังเกตว่าอาการที่ปรากฏขึ้นมานั้น “เกิดและดับใน ลักษณะอย่างไร” ตรงนี้เรามีเจตนารู้อาการพระไตรลักษณ์ รู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างเมื่อกี้ที่บอกว่า ถ้าเรารู้ชัดว่า เรากาลังตามรู้อาการเกิดดับ ของอะไรอยู่ จะทาให้มีความชัดเจนในอารมณ์ รู้ว่ากาลังตามรู้อาการเกิดดับ ของความคิด ในแต่ละขณะ แต่ละขณะที่เข้ามา ความคิดเข้ามาแล้วดับใน ลักษณะอย่างไร ? เข้ามาครั้งแรกดับแบบนี้ ครั้งที่สองดับอย่างไร ?
รู้ว่ากาลังตามรู้อาการเกิดดับของพองยุบ คาว่า “ตามรู้อาการเกิดดับ ของพองยุบ” ไม่ใช่รู้แค่พองแล้วยุบ พองออกไป เขาดับอย่างไร ? พองออก ไป แล้วค่อยเลือนหาย จางหาย หรือพองออกไป แล้วก็ถูกตัดขาดไป นั่นคือ ลักษณะอาการดับที่มีการเปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะไม่แน่นอน ใหม่ ๆ เป็นอย่างนี้ พอดูไปสักพัก เขาเปลี่ยนเป็นอย่างนั้น นี่คือความเป็นอนิจจัง หรือความ เปลี่ยนแปลงเปลี่ยนไปของสภาวธรรม ของอาการพองยุบที่เกิดขึ้น ให้มี เจตนาตามรู้การเกิดดับในลักษณะอย่างนี้
เวลาหายใจเข้า พองออกไป แล้วดับอย่างไร ? หายใจออก ยุบเข้า มาสุด แล้วดับอย่างไร ? หายในลักษณะอย่างไร ? นี่คือการตามรู้อาการเกิด ดับของพองยุบ แต่ให้ละเอียดยิ่งขึ้นก็คือว่า แม้แต่ขณะกาลังพอง ค่อย ๆ พองออกไป เขาพองเป็นเส้น หรือพองเป็นขณะ ๆ ๆ แล้วก็หยุดไปดับไป ? นี่คือสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องสังเกตว่าเขาเปลี่ยนไปในลักษณะอย่างไร หรือถ้า ตามรู้อาการของลมหายใจ เราก็รู้ว่าหายใจเข้าสุด เขาดับหายอย่างไร ? หายใจ ออกสุด เขาดับหายอย่างไร ? หรือระหว่างที่ลมหายใจเข้าไปนั้น เขามีอาการ อย่างไร ? มีอาการเป็นเส้น หรือมีอาการสะดุดเป็นขณะ ๆ เกิดการดับเป็น ขณะ ๆ หรือว่าแค่พลิ้วไปธรรมดา พลิ้วหาย พลิ้วหาย ?
ไม่ว่าจะเป็นสภาวะไหนเกิดขึ้นมา ก็ให้มีเจตนารู้ในลักษณะอย่างนี้ ให้รู้ว่าเกิดแล้วดับอย่างไร ไม่ต้องกังวลว่าทันหรือไม่ทัน “ทันตรงไหนให้รู้ ตรงนั้น” ทันขณะเกิดก็ให้รู้ขณะเกิดไป ทันขณะตั้งอยู่ก็ให้รู้ขณะตั้งอยู่ รู้แล้ว


































































































   468   469   470   471   472