Page 484 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 484

466
เรือนปาริชาติ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๗
หลับตาแล้วก็ปฏิบัติต่อ ทาจิตให้สบาย ๆ ทาจิตให้ว่าง ๆ ยกจิตขึ้น สู่ความว่าง หรือถ้าว่างแล้วก็ไม่ต้องยก ให้ดูจิตที่ว่าง ๆ นั่นแหละ ดูเข้าไป ในความรู้สึกที่ว่าง ๆ ขณะที่ความรู้สึกเราว่างหรือจิตเราว่าง ก็ต้องสังเกต อาการที่เกิดขึ้นในความว่าง อาจจะเป็นบริเวณตัวเรา เขาเรียก “บริเวณรูป” ข้างหน้า หรือว่าใกล้ ๆ ตัว ใกล้ ๆ รูป สังเกตตรงนี้ เราจะเห็นอาการเกิด ดับได้ง่ายขึ้น ทาไมถึงเห็นได้ง่าย ? เพราะว่าอาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้นมานั้น เขาก็อาศัยอาการของรูปส่วนใดส่วนหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง อาศัยอาการ เต้นของหัวใจ อาการเคลื่อนไหวของลมหายใจ อาการกระเพื่อมไหวของ ท้อง หรืออาการเกิดดับต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมาตามร่างกายของเรา
ถ้าไม่มีอาการนี้จริง ๆ หรือมาดูรอบ ๆ ตัว แล้วตัวว่างไปหมด อัน นั้นแหละถึงจะเรียกว่า “ว่าง” จริง ๆ ถ้ากลับมาดูแล้ว รู้สึกมีทั้งความว่าง และลมหายใจก็หายไปเกลี้ยงสนิท อันนั้นจะว่างจริง แต่ถ้ารู้สึกว่าง ๆ มัน คลับคล้ายคลับคลา หรือว่าสลัว ๆ มัว ๆ อยู่ ลองสังเกตดู ในความรู้สึก ลึก ๆ ที่รู้สึกว่าว่าง ๆ เขามีอาการอย่างไร ? ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องจ้อง แค่ รู้สึก เขาเรียก “ใช้ความรู้สึกหรือจิตเรา” รู้สึกได้ ถ้าเราพยายามเพ่ง เพ่ง เพ่ง ก็จะเคร่งตึง แค่ “รู้สึก” เราไม่เพ่ง แต่รู้สึกชัดเข้าไปในอาการ อาการนั้นก็ จะปรากฏชัดขึ้นมาเอง ว่าเขาเป็นไปในลักษณะอย่างไร
ถึงแม้เรายกจิตขึ้นสู่ความว่าง แล้วขณะที่เรามารู้บริเวณรูป ใกล้ ๆ รูป เวลาความคิดเกิดขึ้นก็จะเห็นได้ชัด หรือจะรู้สึกได้ชัดเหมือนกัน เพราะ


































































































   482   483   484   485   486