Page 488 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 488
470
ต้องสังเกตเพิ่มเติมก็คือ เมื่อเอาความรู้สึกเข้าไปที่อาการเวทนา เวลาเวทนา ดับแต่ละขณะ แต่ละขณะ ความรู้สึกที่เข้าไปรู้ดับด้วยหรือไม่ ? ตรงนี้เป็น การพิจารณาให้ละเอียดมากขึ้น จะได้เห็นถึงอาการของรูปนามจริง ๆ เวลา เรากาหนดได้ปัจจุบัน เขามีอาการอย่างไร ? ถ้าเขาดับพร้อมกันแต่ละขณะ หลังจากนั้นสภาพจิตหรือจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้น รู้สึกต่างจากเดิมอย่างไร ? รู้สึกสว่างขึ้น ตื่นตัวขึ้น ผ่องใสขึ้น ? แล้วอาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้นมา เขา เปลี่ยนไปอย่างไร ? ดับเร็วขึ้น เด็ดขาดมากขึ้น หรือดับช้าลงกว่าเดิม หรือ ว่าเป็นอย่างไร ? นั่นแหละคือสิ่งที่เราต้องสังเกตทั้งหมด
ส่วนใหญ่สิ่งที่ต้องสังเกตเป็นอารมณ์หลักเลยก็คือ ลักษณะอาการ เกิดดับ ที่เรียกว่า “อาการพระไตรลักษณ์” เพราะการที่เราเห็นการเกิดดับ การเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน หรือมีความต่อเนื่อง ที่เห็นว่าเปลี่ยนไป เรื่อย เรื่อย... ไม่ว่าจะเร็วหรือช้าก็ตาม ตรงนั้นจัดเป็นปัญญา จัดเป็นสภาว ญาณ หรือปัญญาญาณ ที่เกิดจากเห็นเอง เห็นจริง ตามความเป็นจริง ว่ามี การเปลี่ยนแบบนี้ แบบนี้... อันนี้อย่างหนึ่ง
เมื่อเห็นในลักษณะอย่างนี้ ก็สังเกตดูสภาพจิตใจของเราเป็น อย่างไร ? หรือว่ารู้สึกอย่างไร ? รู้สึกสงบ รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกตื่นตัว รู้สึก ผ่องใส รู้สึกว่าง ๆ รู้สึกเฉย ๆ ? อันนี้เป็นผลที่เขาต้องเกิดอยู่แล้ว อย่างใด อย่างหนึ่ง ความรู้สึกประเภทใดประเภทหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเขาปรากฏแบบไหนก็ตาม ให้รู้ชัด ถ้าเรายังกาหนดอารมณ์ หลักได้อยู่ ยังกาหนดอาการของลมหายใจได้อยู่ ยังกาหนดอาการพองยุบ ได้อยู่ หรือยังกาหนดอาการเกิดดับของเสียงได้อยู่ ก็ให้กาหนดต่อเนื่องไป เรื่อย ๆ จนกว่าเสียงนั้นจะจบ หรือสิ้นสุดลง
และขณะที่กาหนดอย่างต่อเนื่องในลักษณะอย่างนี้ เราก็จะเห็นความ เปลี่ยนแปลงของอาการเกิดดับพร้อมทั้งสภาพจิตของเราว่าเป็นไปอย่างไร เพราะฉะนั้น การสังเกตอาการเกิดดับในแต่ละขณะจึงต้องใส่ใจ มีเจตนา