Page 50 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 50
32
รู้อาการเกิดดับของความคิดไปได้เลย กาหนดอาการเกิดดับของอารมณ์นั้น
ได้เลย
ทีนี้ จะมีคาถามว่า แล้วความว่างใช้ตอนไหน ? การทาจิตให้ว่างเบา
ใช้ตอนไหน ? ที่จริงแล้ว ใช้ได้ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าจิตเราไม่สงบ ไม่ว่าง เราก็ยกจิตขึ้นสู่ความว่าง เพื่ออะไร ? เพื่อให้สมาธิเราตั้งมั่นได้เร็ว ที่สุด เพื่อการละหรือการคลายอุปาทานให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้น ยกจิตขึ้นสู่ ความว่างเมื่อไหร่ อุปาทานก็จะดับไปหรือหายไป อกุศลที่เกิดขึ้นก็จะดับได้ เร็วขึ้น
เพียงแต่ว่าเมื่อเราหลับตาลง แล้วมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ให้เราสังเกตว่า จิตเรามันว่างอยู่แล้ว จะมีลักษณะอย่างหนึ่งก็คือว่า โยคี รู้สึกว่าขยายความรู้สึกตัวเองไม่ได้ เพราะอะไร ? เพราะมันว่างอยู่แล้ว มัน เบาอยู่แล้ว แล้วไปบังคับ ก็จะรู้สึกอึดอัด เพียงแต่ให้สังเกตดูว่า ขณะนั้นจิต เราว่างอยู่หรือเปล่า ? รู้สึกว่ามันกว้าง ๆ อยู่แล้ว มันไม่ได้แคบ ไม่ได้หนัก มันรู้สึกกว้าง ๆ นิ่ง ๆ ตรงนั้นไม่ต้องขยาย แค่สังเกตอาการที่เกิดขึ้นต่อไป แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่า จิตเราเริ่มแคบลง แคบลง แล้วรู้สึกหนัก อึดอัด อัน นั้นแหละขยายให้กว้างออก อันนี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่เราปฏิบัติ แล้ว ก็จะมีความสงสัย
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า อันนี้ยังไม่ใช่ปัญหานะ พูดไว้ก่อน อยากให้ โยคีสังเกตว่า จิตที่ว่างเบานี่ ไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ? ต้องถามตัวเองนะ ว่า จิตที่ว่างเบา เราใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ? แล้วเราลองใช้ดู ไม่ผิด ใช้จิต ที่ว่าง ที่เบารับรู้สิ่งนั้น สิ่งนี้ รับรู้ไปเรื่อย ๆ แล้วรู้สึกยังไง ? ถ้าใช้จิตที่ว่างทา หน้าที่รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ จิตใจเรารู้สึกอย่างไร ? เพราะฉะนั้น ไม่ต้องห่วงว่า ใช้ตอนไหนดี ตอนไหนก็ได้ เมื่อไหร่ที่จิตว่าง จิตเราก็ไม่ทุกข์แล้ว ใช่ไหม ?
เมื่อไหร่ที่จิตว่าง จิตก็ไม่ทุกข์ แต่ธรรมชาติของคนเรา สังเกตว่า ใช้ อะไรรับรู้ ? ใช้จิต ใช่ไหม ? ทุกครั้งเราใช้จิตรับรู้อารมณ์ทุกอารมณ์ ก็คือจิต