Page 51 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 51

33
ทาหน้าที่รับรู้ หรือที่เรียกว่าสติ ความรู้สึก ตรงนี้เรียกว่า ความรู้สึกเรียกว่า ใจรู้ เรียกว่าจิต แต่สังเกตไหมว่า ในการรับรู้อารมณ์บางอารมณ์ ยกตัวอย่าง อารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรืออารมณ์ที่เราไม่ชอบ เราใช้จิตประเภทไหนเป็น ตัวรับรู้ ? สังเกตไหม ความไม่พอใจ หรือจิตที่หนัก จิตที่แคบ จิตที่ขุ่นมัว ทาหน้าที่รับรู้
เมื่อใช้จิตที่ขุ่นมัว จิตที่หนัก ทาหน้าที่รับรู้ ผลที่ตามมาคืออะไร ? จิต เราก็จะหนักมากขึ้น มากขึ้น พร้อมกับการปรุงแต่งไปในตัว สังเกตดูนิดหนึ่ง นะ นี่คือการดูจิตตัวเอง ขณะที่จิตเราแคบลง และมีน้าหนัก สังเกตดูว่า จิต ขณะนั้นรู้สึกไหมว่า “มีเรา” ? มีเราเต็ม ๆ ใช่ไหม ? มีความรู้สึกว่าเป็นเรา โมหะอยู่ตรงไหน ? โมหะก็อยู่ตรงที่เรา “ไม่รู้” นี่แหละ! เพราะฉะนั้น ไปหา โมหะที่ไหน ? ความไม่รู้นั่นแหละคือตัวโมหะ ไม่รู้อะไร ? ไม่รู้เลยว่า “เรา” เป็นผู้รับรู้ แต่รู้สึกว่าเราเป็นผู้รับรู้เต็ม ๆ แต่ไม่รู้สึกว่าความเป็นเรา เกิดขึ้นแล้ว
ความเป็นเราเกิดขึ้น ยึดอะไรเป็น “เรา” ? ก็คือ “ใจรู้” นี่เอง เราเป็น ผู้รู้ เราเป็นผู้เห็น เราเป็นผู้ได้ยิน เสียงเข้ามากระทบที่หูเรา เข้ามาถึงใจของ เรา ใช่ไหม ? เข้ามาถึงใจ เข้ามาถึงตัวเรา พอเข้ามาถึงตัวเมื่อไหร่ ก็เป็นอัน ว่าถึงใจเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น ใช้จิตที่ว่างเบารับรู้ ให้กว้างกว่าตัว กว้างกว่า อารมณ์ ลองสังเกตดูว่า ถ้าให้จิตเรากว้างกว่าตัว แล้วกว้างกว่าอารมณ์ที่รับรู้ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ที่กาลังรับรู้อยู่ เขาเกิดที่ไหน ? เข้าถึงใจไหม ? หรือเกิดอยู่ ข้างนอก ? (โยคีกราบเรียนว่า เกิดอยู่ข้างนอก) เกิดอยู่ที่ไหนน่ะข้างนอก ?
อันนี้อาจารย์จะถามรายละเอียดแล้วนะ ถ้าตอบตรงนี้ อาจารย์ก็ตาม ไปโน่น ทาไม ? ตอบถูกแล้วยังมีถูกอีกนะ ถูกยังมีถูกที่สุด ใช่ไหม ? ถูก แล้วก็ยังมีถูกต่อ ถ้ารู้สึกว่าอยู่ข้างนอก จุดหนึ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า อารมณ์ ที่เกิดอยู่ข้างนอกอยู่ขณะนี้ เกิดอยู่ใกล้ตัวประมาณนี้หรือไกลออกไป หรืออยู่ ใกล้ ๆ ตัว ? ตรงนี้เป็นตัวบอกถึงลักษณะของขณะนั้นว่า สติของเรามีกาลัง


































































































   49   50   51   52   53