Page 507 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 507

489
เล่า พอเล่าก็เล่าแต่เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่ต้องเล่าหรอกว่าคิดเรื่องอะไร ให้เล่า ว่าวันนี้มีความคิดเยอะแยะ แต่พอไปรู้แล้วเขาดับแบบนี้ ความคิดเข้ามา เขา ดับแบบนี้... มัวแต่ไปเล่าคิดถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ กว่าจะเล่าจบ แล้วไม่มีลักษณะ ของอาการพระไตรลักษณ์เลย เขาเรียกว่า “นอกญาณ” ไปอยู่ในอวกาศหมด ลอยเคว้ง ไปทาอะไรก็ไม่รู้!
เพราะฉะนั้น เวลาเล่าสภาวะ ให้เล่าว่าเกิดอย่างไร ดับอย่างไร ความ คิดตรงนี้เกิดแบบนี้ ดับต่างจากเมื่อวาน เขาเบากว่าเดิม เกิดเยอะเหมือน เดิมเลย แต่ว่าเบากว่าเดิม บางกว่าเดิม สั้นกว่าเดิม อันนี้ก็คือความต่าง ความเปลี่ยนของตัวความคิดเอง สังเกตแบบนี้ จะได้รู้ว่าขณะที่ความคิด เราเบากว่าเดิมบางกว่าเดิม สั้นกว่าเดิม แม้จะเยอะเหมือนเดิม สภาพจิตเรา ต่างจากเดิมอย่างไร ? อันนั้นคือตัวความต่าง สภาพจิตรู้สึกใสกว่าเดิม เบา กว่าเดิม สงบกว่าเดิม หรือตื่นตัวมากกว่าเดิม แต่ความคิดยังมีเยอะอยู่ พอ ถึงตรงนั้น ความคิดที่มีเยอะ คิดแบบมีตัวตน หรือไม่มีตัวตน ? นั่นลาดับ ต่อไปที่จะต้องสังเกต ต้องพิจารณา
เวลาเล่าสภาวะ ให้เล่าลักษณะของอาการ บางอย่างเล่าได้ บางอย่าง ก็ไม่จาเป็นต้องเล่าทั้งหมดหรอก อย่างเช่น คิดอะไรไม่ต้องเล่าก็ได้ แค่รู้ ว่าคิดแล้วดับอย่างไรก็พอ บางทีก็เล่าว่า วันนี้อกุศลเยอะมากเลย! เวลาไม่มี ก็จะไม่ค่อยเล่านะ... วันนี้มีอารมณ์เข้ามากระทบ แล้วความคิดที่เป็นอกุศล เกิด เกิด เกิด... ไม่ต้องบอกก็ได้ รู้แต่ว่าความคิดเยอะมากเลย ไม่ค่อยดีเลย ก็พอแล้ว! รู้สึกไม่ค่อยดีแล้วเขาดับยังไง ? รู้ตรงนั้นไปเลย ดับเร็วดับช้า ? อาการเกิดดับเขาเปลี่ยนไปยังไง ? ตรงนี้เขาเรียกว่า “เล่าถึงลักษณะของ สภาวญาณหรืออาการพระไตรลักษณ์”
ถ้าเล่าแบบนี้ วันหนึ่งเล่าสภาวะ ๕ นาทีก็จบ ไม่ต้องบรรยายมากเลย บางทีบรรยาย ๓ รอบ อาจารย์ก็นั่งฟัง อยากให้เขาสบายใจ ที่จริง อาจารย์ พยายามจะให้จบเร็ว ต้องฝึกแล้วนะ ต้องพยายามฝึกให้จบเร็วขึ้น สังเกต


































































































   505   506   507   508   509