Page 510 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 510
492
สภาวะก่อนหน้านี้ แต่ชัดจากจุดเริ่มแรกที่เรารู้ นั่นคือรู้ความแตกต่าง รู้การ เปลี่ยนแปลง
เพราะฉะนั้น สาคัญอยู่ที่ว่า เราต้องใส่ใจที่จะพิจารณา แล้วสังเกต อาการให้ชัดว่า เขาเป็นไปในลักษณะอย่างไร ? อาการเกิดดับเปลี่ยนไป อย่างไร ? สภาพจิตเราเป็นอย่างไร ? สภาพจิตตอนนี้กับเมื่อเช้า ? ช่วงบ่าย กับเมื่อเช้ากับเมื่อวาน ? เมื่อเช้านี้กับตอนบ่ายต่างกันอย่างไร ? ช่วงบ่ายนั่ง ไม่ค่อยได้เลย นั่งไม่ค่อยติดเลย... ทาไมถึงนั่งไม่ค่อยติด ? รู้สึกไม่ค่อยดี เหมือนกระสับกระส่าย นั่งไม่ค่อยติดเหมือนวุ่นวายภายใน... เมื่อเป็นเช่นนี้ จะทาอย่างไร ?
ท่านแม่ครูบอกว่า ถ้ารู้สึกกระสับกระส่าย ความรู้สึกกระสับกระส่าย เกิดขึ้นที่ใจของเรา วิธีแก้คือ เอาสติเราซ้อนเข้าไปที่อาการกระสับกระส่าย ซ้อนเข้าไปแล้วเขาดับอย่างไร ? ซ้อนเข้าไปแล้วเขาดับอย่างไร ? ไม่ต้อง พยายามบังคับให้สงบ แค่มีสติซ้อนเข้าไปที่อาการกระสับกระส่าย แล้วเขา เปลี่ยนไปอย่างไร ? การที่เราจะเอาสติหรือเอาความรู้สึกซ้อนเข้าไปที่อาการ กระสับกระส่ายได้ เราต้องรู้ว่าความรู้สึกกระสับกระส่ายเขาอยู่ “ตาแหน่ง” ไหน ถ้าไม่เห็นเราก็ซ้อนไม่ถูก ถ้ารู้ว่าเขาอยู่บริเวณหทยวัตถุ หรืออยู่ด้าน ข้าง หรืออยู่บริเวณหน้าเรา หรือว่าอยู่บริเวณสมอง ถ้าเรารู้ตาแหน่ง เอาสติ เราซ้อนเข้าไป ซ้อนเข้าไป ก็จะเห็น
ทีนี้ บางครั้งอาการเกิดขึ้นเหมือนกับไม่มีตาแหน่ง ตรงนั้นนิด ตรงนี้ หน่อย คล้าย ๆ อยู่ตรงนี้ ถ้าคล้าย ๆ ว่าอยู่ตรงไหน นั่นก็คือตาแหน่งของ เขา เพียงแต่เราซ้อนเข้าไปตาแหน่งนั้น เขาเปลี่ยนหายอย่างไร ? เขาไปเกิด ที่อื่นอีก ก็ซ้อนไปที่ใหม่ บางครั้งไม่เกิดที่เดียว ก็สังเกตว่า แต่ละขณะที่เรา เอาสติเราซ้อนเข้าไป เขาเปลี่ยนอย่างไร ? ดับอย่างไร ? แค่นั้นเอง! ไม่ใช่ ต้องจับให้ได้ ต้องเอาให้อยู่ มันต้องหายไปเลย อันนั้นไม่ได้นะ ถ้าเมื่อไหร่ ที่ต้องจับให้มั่นคั้นให้ตาย เราตายก่อนแหละ! ถ้าเจอแบบนั้นเครียดแย่ ใช่