Page 58 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 58
40
๒ อารมณ์ แล้วเราก็จะรู้สึกกังวล เพราะฉะนั้น สังเกตดูง่าย ๆ ก็คือว่า อารมณ์ไหนที่เป็นอารมณ์ปัจจุบันที่ชัดที่สุดสาหรับเราในขณะนั้น ให้ไปรู้ อาการนั้น ว่าเขาเกิดดับในลักษณะอย่างไร... ทาได้นะ ?
ใครมคี า ถาม ? แกฟ้ งุ้ ซา่ น ใชไ่ หม ? เปน็ คา ถามทดี่ ี วธิ แี กค้ วามฟงุ้ ซา่ น ลองสังเกตนิดหนึ่ง ความฟุ้งซ่านของเราเกิดที่ไหน ? บริเวณนี้ ใช่ไหม ? ความฟุ้งซ่าน สังเกตดู เห็นไหม คาถามบอกว่าเกิดที่จิต แต่ตาแหน่งของ ความฟุ้งซ่าน ตาแหน่งของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ที่จริงแล้วลองดูนะ เวลาฟุ้งซ่าน ขึ้นมา เวลาเรานั่งหรือการรับรู้อารมณ์ แล้วจิตเรากระสับกระส่าย ถ้าสังเกต ดี ๆ เราจะรู้ว่า ความรู้สึกที่กระสับกระส่ายหรืออาการกระสับกระส่ายนี่ เขา จะมี “ตาแหน่ง” ของเขา บางครั้งอยู่บริเวณนี้ บางครั้งอยู่ตรงนี้ บางครั้งก็อยู่ ตรงนี้ ไม่แน่นอน แต่ขณะนั้นเราจะรู้สึกได้ว่าเขาเกิดบริเวณไหน
วิธีแก้ แค่เอาสติเราซ้อนเข้าไป เอาจิตเราซ้อนเข้าไปที่อาการฟุ้งซ่าน ลองดูสิ เอาจิตเราซ้อนเข้าไปที่ความฟุ้งซ่าน ลองดู อาการฟุ้งซ่านนั้นเป็น ยังไง ? เขาหายไป ? เขาเบาไป ? รู้สึกเขาจางไป ? เอาจิตเอาสติเราซ้อน เข้าไปที่อาการ ไม่ใช่ดูธรรมดานะ ให้ซ้อนเข้าไปที่อาการนั้น ลองดูว่ารู้สึก เป็นไง ? คนอื่นลองดูด้วยได้นะ รู้สึกเป็นไง ? เขาจะเบาลง วิธีแก้ความ ฟุ้งซ่าน อย่าปฏิเสธ แค่มีสติซ้อนเข้าไป ซ้อนเข้าไป เขาก็จะหายเอง
ที่จริงเรามีสติรู้ เขาก็จะดับไป จะเบาลง น้อยลง คืออาการดับของ เขา เพียงแต่ว่าเรารู้สึกว่า อยากให้เขาดับแล้วไม่เกิดอีก อยากให้หายไปเลย อย่ากลับมาอีกนะ เรื่องนี้ไปแล้วไปเลย... ที่จริงบางอารมณ์ บางเรื่อง เรายัง ไม่สรุป เขาก็จะกลับมาอยู่เรื่อย เรายังไม่ตัดสินเขา ยังไม่สรุปว่าจะวางไว้ก่อน จะแก้ยังไง เขาก็จะมาอยู่เรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น วิธีแก้ก็คือว่า ถ้าเมื่อไหร่ที่ เรายังไม่สรุป เราก็ใช้แบบนี้ เกิดขึ้นมาก็เอาจิตเราซ้อนเข้าไป แล้วเขาดับไป พอใจที่เราดับได้ ทีละขณะ ๆ ๆ ดับได้ทุกครั้งนี่ เราพอใจที่เราสามารถ ดับได้ ดับได้ ต่อไปเขาก็จะสั้นลง ถึงเกิดใหม่ก็จะเบาแล้ว ไม่วุ่นวายเหมือน