Page 59 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 59
41
ใหม่ ๆ สังเกตแบบนั้น
โยคี (๒) : กราบเรียนท่านอาจารย์ครับ ตามที่ท่านพระอาจารย์ได้
สอนมา ผมเข้าใจว่าให้กาหนดดูเกิดดับ เกิดดับนะครับ พระอาจารย์ : ใช่
โยคี (๒) : แล้วเราต้องกาหนดรู้ด้วยไหมครับว่า ที่เดินอยู่นี้เป็นรูป ที่รู้ว่าเดินอยู่นี้เป็นนาม อะไรอย่างนี้... แล้วถ้าเกิดว่าต้องกาหนดตรงนี้ด้วย มันก็จะต้องกาหนดหลายอย่าง มันจะไม่ซับซ้อนกันใหญ่เลยหรือครับ ?
พระอาจารย์ : เข้าใจถูกแล้ว จริง ๆ แล้ว ขณะที่กาหนดอาการเกิด ดับในขณะเดิน ไม่ต้องไปกังวลว่าอันไหนคือรูป อันไหนคือนาม เพราะการ ก้าวเท้าของเราก็คือรูปอยู่แล้ว จิตที่ทาหน้าที่รู้ก็คือนามอยู่แล้ว ไม่ต้องไป แยกตรงนั้น ถ้าแยกตรงนั้นนี่สับสนเลย กลายเป็นว่าเวลาเดินเป็นรูป ใจรู้เป็น นาม เดินเป็นรูป ใจรู้เป็นนามสังเกตไหม สติเราจะวิ่งไปวิ่งมา แล้วก็จะไม่มี สมาธิ อาการเกิดดับก็จะไม่ชัด เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ที่เราเข้าไปรู้ถึงอาการ เกิดดับได้เลย ไม่ต้องห่วงว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม ให้รู้ว่าเขาเกิดดับใน ลักษณะยังไง เป็นคาถามที่ดีนะ
โยคี (๒) : กราบเรียนพระอาจารย์ครับ การตามดูลมหายใจเข้าออก อย่างเดียว โดยไม่พิจารณากายส่วนอื่นเลย ยกเว้นอาการคันหรือว่าทุกข- เวทนา มันจะเป็นวิปัสสนาไหมครับ ?
พระอาจารย์ : เป็นวิปัสสนา การที่ว่าเป็นวิปัสสนา ที่บอกว่าเราไม่รู้ อาการอื่นเลย ตรงนี้จริง ๆ แล้วเรากาหนดรู้ “อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันที่สุด” สมมติว่า เราตาม “ลมหายใจ” หมายถึงว่าขณะนั้นลมหายใจชัดกว่าอารมณ์ อื่น แล้วพอมี “เวทนา” ขึ้นมา เวทนาชัดกว่าอารมณ์อื่น ตรงนี้เขาเรียก “เป็นอารมณ์เดียว” เมื่อเป็นอารมณ์เดียว ตรงนี้คืออารมณ์ปัจจุบัน เพราะ ฉะนั้น เราก็มารู้อารมณ์ปัจจุบันนี่แหละเกิดดับยังไง อารมณ์ที่ยังไม่เกิดไม่ ต้องไปหา เพราะหายังไงก็ไม่เห็น เพียงแต่ว่าเขาก็จะเปลี่ยนจากลมหายใจ