Page 61 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 61
43
โยคี (๒) : คือลักษณะการดูในเรื่องของกายกับเวทนา มันจะชัดเจน กว่าจิตกับธรรมครับ ทีนี้ เราจะดูแค่กายกับอาการเนื่องในกาย ก็คือเวทนา ดู ๒ ตัวนี้ครับ แล้วส่วนจิตกับธรรมเราก็จะละวาง เราจะมาดูเฉพาะ ๒ ตัว นี้ได้ไหมครับ ?
พระอาจารย์ : มันจะส่งผลถึงจิตเราทุกครั้ง เพราะตัวรู้ ตัวดู ก็คือ จิต เวทนาก็คือ อาการที่เนื่องด้วยกาย แต่ตัวที่ทาหน้าที่รู้คือจิต ยังไงเรา ก็ละจากจิตไม่ได้ เพราะจิตคือตัวทาหน้าที่รู้ สภาวธรรมที่เกิดขึ้นไม่ใช่หัวข้อ ธรรมที่เราเรียน ใช่ไหม ? สภาวธรรมไม่ใช่หัวข้อธรรม
โยคี (๒) : แล้วสภาวธรรมคืออะไรครับ ?
พระอาจารย์ : ที่โยมถามเมื่อกี้แหละ เพิ่งถามอยู่เมื่อกี้เอง! ก็คือ อาการของกาย ของเวทนา ของจิต อาการเกิดดับตรงนี้แหละคือสภาวธรรม ที่ปรากฏขึ้นมา ก็คืออาการของรูปนาม ตรงนี้เป็นสภาวธรรมทั้งหมด
โยคี (๒) : ที่ไปศึกษาดูกับครูบาอาจารย์ ท่านก็จะยกหัวข้อธรรมขึ้น มาให้เราพิจารณาครับ
พระอาจารย์ : ดีแล้ว จะได้เข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น
โยคี (๒) : ครับ กราบขอบพระคุณครับ
พระอาจารย์ : ตรงนี้เราก็เลือกแล้ว เราพิจารณาหัวข้อธรรมได้แล้ว เราก็มาดูสภาวธรรมจริง ๆ มันเป็นยังไง
โยคี (๓) : การทาจิตให้ว่างเป็นการปรุงแต่งจิตหรือเปล่าคะ ?
พระอาจารย์ : เท่าที่อาจารย์สังเกตดู ปรุงแต่งเมื่อไหร่ก็ไม่ว่าง! ลอง ดูสิ ตอนที่รู้สึกว่างนี่ เขาคิดอะไรไหม ? นั่นเราไม่ต้องปรุงแต่ง “รู้สึก!” แค่ เราไปดูจิตเราแค่นั้นเอง ไม่ได้ปรุงแต่งให้ว่าง เข้าไป “รู้จิต”
โยคี (๔) : เรียนถามการกาหนดอิริยาบถย่อยค่ะ คือทุกวันนี้ก็ยัง กาหนดอยู่ เหมือนกับเรายังเป็นเด็กอยู่หรือเปล่าคะ ? หมายถึงปฏิบัติแบบ