Page 62 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 62

44
ยังเป็นเด็กอยู่
พระอาจารย์ : ผู้ใหญ่ก็ต้องกาหนด
โยคี (๔) : หมายถึงว่าเหมือนการปฏิบัติไม่ก้าวหน้า
พระอาจารย์ : จริง ๆ แล้วนี่ ไม่ใช่ไม่ก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นปฏิบัติ ถึงระดับไหน จริง ๆ ถ้าเราสังเกต ก็ต้องรู้อิริยาบถย่อยของเราเป็นไปใน ลักษณะอย่างไร เพียงแต่เจตนาในการกาหนดนี่แตกต่างตรงที่ความละเอียด อย่างของเขาละเอียดอยู่แล้ว สติเขาไวอยู่แล้ว เขาก็ไม่ต้องค่อย ๆ จ้อง รู้สึก ได้ทันที เราเป็นตัวบอกตัวเราเองว่าเรากาหนดได้ทันมากแค่ไหน ถ้ากาหนด ทันมากขึ้น จิตเราเป็นอย่างไร สภาพจิตเราเปลี่ยนยังไง ตรงนั้นแหละเราก็ จะไม่ต้องรู้สึกว่า เรายังเหมือนเด็กอยู่เลย ตามไม่ทันอาการสักทีหนึ่ง ถ้าเรา ตามไม่ทันอาการ เราก็ยังเหมือนเด็กนั่นแหละ!
เพราะฉะนั้น การกาหนดอารมณ์นี่ อย่างเช่น ขณะนี้ ขณะที่พูดนี่ รู้สึกไหม เวลาพยักหน้า ? รู้สึก ใช่ไหม ? เออ! เราก็ต้องรู้สึก พอรู้สึกปุ๊บ เราจะพยักหน้าต่อหรือจะนิ่ง ตรงนั้นแหละ แล้วขณะที่รู้สึกถึงอาการ พยักหน้า สภาพจิตเรารู้สึกเป็นยังไง ? ใจเรา ? (โยคีกราบเรียนว่า รับรู้) ใจ ที่รู้ถึงอาการขยับ ใจที่รู้ถึงอาการพยักหน้า ตรงนี้แหละ มันพยักอยู่ที่ไหน ? พยักอยู่ในที่ว่าง ๆ แล้วจิตใจรู้สึกเป็นยังไง ? สงบ ใส เบา สังเกตแบบนี้
โยคี (๔) : แล้วอย่างบางทีเราฟุ้ง แล้วเรากาหนดรู้ว่าเราฟุ้ง ถึงเราไป พิจารณาว่าเป็นกุศลหรือว่าอกุศล มันยิ่งจะทาให้เราฟุ้งไปใหญ่ ใช่ไหมคะ ?
พระอาจารย์ : ใช่ ถ้าเราไปพิจารณาความดี เป็นกุศล เราก็คล้อย ตาม คาว่า “ฟุ้ง/ฟุ้งซ่าน” พอมีความคิดก็เรียกว่า “ฟุ้งซ่าน” อาจารย์ไม่ค่อย ใช้เท่าไหร่หรอก เพราะอะไร ? พอฟุ้งซ่านปั๊บ มันหลายเรื่อง ใช่ไหม ? ถ้า เรารู้สึกว่า พอนั่งแล้วมี “ความคิด” เหลืออยู่เรื่องเดียว คือความคิด กี่เรื่อง ก็ตาม มันก็คือความคิด


































































































   60   61   62   63   64