Page 79 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 79
61
ไม่ต้องไปดูความเป็นรูปร่างของตัว ๓) จากนั้นก็ให้พิจารณารู้ถึงอาการ เกิดดับของเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดดับในลักษณะอย่างไร ? อันนี้เขา เรียก “รู้เวทนาในเวทนา”
การตามรู้เวทนาในเวทนา ก็มีอยู่ ๒ ส่วน ๑) เวทนาทางกาย ๒) เวทนาทางใจ และการตามรู้เวทนา เราจะรู้ในลักษณะอย่างไร ? ก็ไม่พ้นต้อง รู้ถึงลักษณะที่เป็นสามัญลักษณะ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป การที่เราพิจารณาอย่างนี้ ก็คือรู้อาการเกิดดับของ เวทนานั่นเอง โดยเข้าไปรู้ว่าเวทนาเกิดดับในลักษณะอย่างไร เกิดแล้วดับไป แบบช้า ๆ ค่อย ๆ ดับไป หรือดับทันที เวทนาทางกายที่เกิดขึ้นก็แยกอีก ๑) อาการปวด ๒) อาการเมื่อย ๓) อาการชา ๔) อาการคัน ส่วนเวทนา ทางใจ รู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา แต่ที่ชัดที่สุดเวลาเราเจริญกรรมฐานส่วน ใหญ่ก็คือ เวทนาทางกายที่ปรากฏขึ้นมาแล้วทาให้เราทนไม่ได้ ตรงนี้จะเป็น ปัญหาเป็นอุปสรรคของนักปฏิบัติ
เพราะฉะนั้น วิธีกาหนดรู้เวทนาจึงต้องรู้ว่า เวทนาหรือความปวดที่ เกิดขึ้นกับจิตเรา เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน เพื่ออะไร ? เพื่อให้คลาย อุปาทาน ความยึดมั่นสาคัญผิด คิดว่าเวทนาเป็นเรา เรามีเวทนา เวทนา เป็นของเรา เราเป็นผู้เสวยเวทนา เมื่อพิจารณาอย่างนี้ เราแยกเวทนากับ จิตได้ และเมื่อสติมีกาลังแก่กล้า ก็จะเห็นว่าเวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เวทนาก็กาลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่ เนืองนิตย์ เมื่อเห็นในลักษณะอย่างนี้ จิตก็จะไม่เศร้าหมองกับเวทนาที่เกิด ขึ้น นั่นคือการพิจารณาเวทนา
ส่วนเวทนาทางใจก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราเกิดความรู้สึกหนัก อึดอัด เป็นทุกข์ขึ้นมา หรือเป็นสุขขึ้นมา เราจะรู้อย่างไร ? ถ้าเป็นทุกข์ ดับได้ให้ รีบดับ อย่างที่บอกแล้ว ทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้น รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกอึดอัด รู้สึก หนัก วิธีแก้ก็คือ ขยายให้กว้างออก แล้วมันจะดับไป อันนั้นเราต้องฝึกนะ