Page 80 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 80

62
อันนั้นต้องฝึกบ่อย ๆ เอาไปใช้บ่อย ๆ ขยายความรู้สึกอึดอัดให้กว้างออก ไป แล้วความหนักก็จะหายไป ความทุกข์ก็จะดับไป อันนี้วิธีแก้ความอึดอัด ความทุกข์ทางใจ
ทีนี้ เวทนาอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อรู้สึกเฉย ๆ ส่วนใหญ่เราอยากให้ จิตเราเฉย ๆ กับอารมณ์ทุกอย่างที่เข้ามา หรืออยากจะเฉยกับอารมณ์ที่ไม่ พึงปรารถนา หรือบางคนรู้สึกว่าอยากจะเฉยอย่างเดียว ไม่อยากจะยินดี ยินร้ายกับอะไร พอมีความรู้สึกดี ๆ เกิดขึ้น จะยินดี เดี๋ยวมันก็เปลี่ยน แล้วทาให้ทุกข์อีกแล้ว พอมีความทุกข์ขึ้นมา ก็อยากจะปฏิเสธ อยากจะ เฉย ๆ กับอารมณ์ที่ทาให้เราทุกข์ ก็เลยพยายามจะยึดเอาความเฉยเป็นที่ ตั้ง เป็นที่อยู่
เราปฏิเสธบางอย่าง แต่ก็จะยึดบางอย่าง ไม่ว่าจะยึดอุเบกขา ยึด ความสุข ยึดความทุกข์ ก็คือ “การยึด” เพราะอารมณ์ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ในกฎ ของไตรลักษณ์ เมื่อยึดไม่ได้ เราก็ทุกข์อยู่ดี เพราะฉะนั้น สิ่งที่ดีที่สุดก็คือ พิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงเป็นไปของธรรมชาติของความรู้สึกสุขทุกข์ที่ เกิดขึ้นมา มีสติกาหนดรู้ ดูให้ชัดถึงความเป็นคนละส่วน ระหว่างจิตที่ทา หน้าที่รู้กับความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีที่เกิดขึ้น อันนี้คือ “การดูจิตในจิต” แล้วนะ ดูจิตในจิต รู้ว่าคิดอะไร รู้ว่าจิตใจเราเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร
“รู้ธรรมในธรรม” ก็คือ สภาวธรรมที่เขามีการเกิดดับเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลานั่นเอง นั่นคือสภาวธรรมเพราะฉะนั้นนี่ การที่เจริญวิปัสสนา การที่เราทาแบบนี้ กาหนดต่อไปเรื่อย ๆ ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง จิตเราก็จะพัฒนา ไป เห็นความจริงมากเท่าไหร่ จิตก็จะคลายอุปาทานได้มากเท่านั้น ถ้าเมื่อไหร่ ยังไม่เห็นถึงความจริง จิตก็ยังยึดติดกับสมมติบัญญัติที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นของเขา อยู่ร่าไป ก็ทาให้เราทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ วนเวียนอยู่ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด คอื หมนุ อยใู่ นวฏั สงสารหรอื ปฎจิ จสมปุ บาท หมนุ เวยี นอยอู่ ยา่ งนี้ ไมม่ ที สี่ นิ้ สดุ


































































































   78   79   80   81   82