Page 83 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 83
65
เดียว ตอนกลางวันยังพอมีสภาวะได้บ้าง ใจยังรู้สึกว่าสบาย ตอนนี้พอตั้งใจ ฟังมาก ๆ ทุกคนเริ่มหดลงหมดแล้ว กลายเป็นเรื่องหนักเลยนะ... จาได้ไหม ว่าอาจารย์สอนอะไรบ้าง ? สรุปอีกนิดหนึ่ง
๑) “วิธีการทาใจให้ว่าง” วิธีการทาใจให้ว่าง ทาอย่างไร ? ลองดูนะ น้อมใจมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ ใครทาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เมื่อน้อมใจมาข้างหน้า ในที่ว่าง ๆ แล้ว ขยายใจที่ว่างให้กว้างออกไป ไม่มีขอบเขต อันนี้คือวิธีการ ทาใจให้ว่าง
๒) “ให้ใช้จิตที่ว่างทาหน้าที่รับรู้อารมณ์” ที่บอกว่าให้ย้ายจิตเรา ให้ ย้ายจิตที่ว่าง ๆ มาที่บริเวณสมองเรา สมองรู้สึกเป็นยังไง ? แล้วย้ายจิตที่ เบา ๆ มาไว้ที่บริเวณหัวใจ รู้สึกยังไง ? นี่ใช้จิตที่ว่างทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ ขณะทคี่ ดิ ใหจ้ ติ ทวี่ า่ งจติ ทเี่ บากวา้ งกวา่ เรอื่ งทคี่ ดิ ขณะทเี่ หน็ ถา้ เราเหน็ รปู ไหน แล้ว ทาให้เรารู้สึกว่ามีการกระทบ ให้จิตที่เบากว้างกว่าภาพที่เห็น กว้างกว่า สิ่งที่เรากาลังมองอยู่ อันนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งคือ ให้จิตที่เบาทะลุผ่าน ไปเลย ทะลุรูปที่เรากาลังมองอยู่ นี่คือการใช้จิตที่เบาทาหน้าที่รับรู้อารมณ์
การยกจิตขึ้นสู่ความว่างหรือการทาจิตให้ว่างตรงนี้ จิตที่ว่างก็คือจิตที่ มีสมาธิ ลองดู จิตที่ว่างรู้สึกยังไง ? รู้สึกเบา จิตที่ว่างจิตที่เบารู้สึกสงบไหม ? นี่คือการพิจารณาดูจิตในจิตของตัวเอง อันนี้อย่างหนึ่ง เมื่อจิตที่ว่างสามารถ ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ได้ จิตที่ว่างก็จะเปลี่ยนเป็น “ตัวสติ” สติในการกาหนด รู้อารมณ์ต่าง ๆ เพราะฉะนั้น เวลากาหนด ไม่ว่าจะเป็นกาหนดพองยุบหรือ กาหนดลมหายใจเข้าออก ให้เอาจิตที่เบา ๆ ว่าง ๆ นี่ ตามอาการพองยุบ หรือตามลมหายใจเข้าออก เพราะฉะนั้น เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ให้จิตเรากว้าง กว่าเวทนา อันนี้เอาไปใช้ประโยชน์
ทีนี้ เราทาจิตให้ว่างได้แล้ว สังเกตดูว่า เราสามารถเอาจิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ ไปใช้ที่บ้านได้ไหม ? อันนี้ถามตัวเองนะ เราต้องตอบตัวเอง ถ้าเราไม่ ถามตัวเอง เราก็จะรู้สึกไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้น อาจารย์จึง