Page 84 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 84

66
ให้ใช้ตั้งแต่ตอนนี้ ให้จิตที่เบาว่าง กว้างกว่าทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะ เดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือขณะที่ทาอะไรก็ตามในอิริยาบถย่อย ให้จิตที่ว่าง ทาหน้าที่รับรู้ อันนี้อย่างหนึ่ง
๓) “การเติมความสุขให้ตัวเอง” ทาจิตให้ว่าง แล้วเติมความสุขให้ กับจิตที่ว่าง ๆ ของตัวเอง เมื่อเราใช้จิตที่ว่างทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ได้ แต่เมื่อ จิตที่ว่างนั้นเปลี่ยนเป็นจิตที่สุข ก็ให้ใช้จิตที่สุขนี่แหละทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ ไม่ใช่ต้องใช้แค่ความว่าง เพราะธรรมชาติของเราก็ใช้จิตทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ ต่าง ๆ อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเรามีความสุข เราก็ใช้จิตที่สุขนั่นแหละ ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ไป ไม่ต้องไปเปลี่ยนมาใช้ความทุกข์รับรู้อารมณ์ ใช้จิต เฉย ๆ ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์
อีกอย่างหนึ่งนะ ใครที่เป็นคนเจ้าโทสะ โกรธง่ายหายยาก หรือโกรธ ง่ายหายไวก็ตาม วิธีป้องกันความโกรธ ให้เติมความสุขให้ตัวเองมาก ๆ เติม ความสุขหรือความอ่อนโยนให้ใจตัวเองมาก ๆ นึกถึงบุญบ่อย ๆ เติมให้เต็ม บริเวณหัวใจของเรา จนมันล้นจากตัว สังเกตไหมว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามี ความสุข ความทุกข์หรือความโกรธเกิดยากที่สุด ใช่ไหม ? เวลาเรามีความ สุข อะไรก็ไม่เป็นไร อภัยให้ได้ง่าย ๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเฉย หรือจิตเราแคบ แล้วมีตัวตนเกิดขึ้น โทสะพร้อมที่จะเกิด เพราะฉะนั้น วิธีป้องกัน เติมความ สุขให้ตัวเองมาก ๆ เพิ่มความอ่อนโยนนุ่มนวลให้กับใจของตัวเองเยอะ ๆ แล้วเวลารับรู้อารมณ์ ให้จิตเราที่สุขกว้างกว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น จะช่วยป้องกัน ความโกรธไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ อันนี้ต้องเอาไปใช้
๔) และที่สาคัญที่สุดก็คือว่า ในการเจริญวิปัสสนา เน้นการ “รู้อาการ เกิดดับ” แต่ละคนนี่สภาวะไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราต้องทาก็คือว่า สภาวะของเราเป็นอย่างไร จาให้ได้ แล้วเอาไปใช้ และสานต่อตรงนั้นแหละ เพื่อการพัฒนาตัวเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่จาเป็นต้องเหมือนใครและไม่ต้อง ให้ใครเหมือน จะเหมือนหรือไม่เหมือนก็ตาม ให้เรารู้ว่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้น


































































































   82   83   84   85   86