Page 39 - ต้นจิตและอริยาบทย่อย
P. 39

มีบริบทที่ละเอียดแตกต่างกันออกไป ธรรมะก็เหมือนกัน ธรรมะ คือ การมาเรียนรู้จิตใจตัวเอง รู้ใจเราใจเขา เราอยากแบบนี้ ถ้าคนอื่นอยาก แบบนี้เหมือนเรา หรือเราเกลียดแบบนี้ ถ้าคนอื่นเกลียดแบบนี้เหมือนเรา จะเป็นอย่างไร ? นี่คือเราจะเข้าใจทั้งตนเองและผู้อื่น พระพุทธเจ้าตรัส ไว้ว่า “เราเกลียดทุกข์ รักสุข ฉันใด คนอื่นก็รักสุข เกลียดทุกข์ ฉันนั้น” ให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติตรงนี้ เพราะฉะนั้น การรู้ต้นจิตจึงเป็นสิ่งสาคัญ ต้นจิตเป็นสภาวธรรมที่ละเอียด เป็นการที่จะทาให้เราได้เห็นจิตตนเองชัดขึ้น ๆ และการที่เราจะเห็นจิตตนเองชัดมากขึ้น ก็ด้วยการมาปฏิบัติธรรมเจริญ กรรมฐาน เพื่อพัฒนาสติ-สมาธิ-ปัญญาที่จะพาให้คนเรานั้นออกจากทุกข์ ออกจากวัฏสงสาร
ปัญญาที่กล่าวมาก่อนหน้านั้น ที่เราต้องเรียนรู้ในสถานศึกษา อย่างไรก็เป็นสิ่งที่ดีกับชีวิตของเราที่เกิดมาในโลกอยู่แล้ว แต่ให้ดีขึ้นอีก กค็ อื การเรยี นในสาขาหรอื วชิ าทพี่ ระพทุ ธเจา้ สอน คา วา่ “พทุ ธะ” ทเี่ รารกู้ นั คือปัญญา เป็นผู้รู้เส้นทางที่จะออกจากทุกข์ เป็นผู้รู้ แล้วตื่น และเบิกบาน ไม่ใช่รู้แล้วทุกข์ แต่รู้เพื่อการตื่นและเบิกบาน ไม่ทุกข์กับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ทุกข์กับกระแสโลกที่กาลังหมุนไปอยู่ เพราะฉะนั้น การที่เรามาพัฒนา คือเริ่มจากตรงไหน ? ที่อาจารย์พยายามพูดซ้าเพื่อให้เรารู้ว่า การเจริญ กรรมฐานนั้น อารมณ์หลัก หรือสิ่งที่ต้องตามรู้ คืออะไร สังเกตไหมว่า เวลาเรามานั่งกรรมฐาน ให้มีอารมณ์หลัก ตามรู้ลมหายใจ ตามรู้พองยุบ คือรู้อาการตัวเอง รู้อาการภายใน รู้จักตัวเอง การดูอาการทางกายเป็น จุดเริ่มต้นที่จะทาให้ผู้ปฏิบัติมีสติเพิ่มขึ้น มีสมาธิเพิ่มขึ้น ส่วนปัญญา คือ ตัวที่เราใส่ใจที่จะไปรู้ว่าอาการทางกายเขาเปลี่ยนแปลงเกิดดับอย่างไร ตรงที่ เรารู้ว่าพองยุบหรือลมหายใจเข้า-ออก เขาเปลี่ยนไปอย่างไร เกิดแล้วดับ
33
































































































   37   38   39   40   41