Page 46 - ต้นจิตและอริยาบทย่อย
P. 46

40
แต่พอเห็นจิตมันกว้าง แล้วทาไมรู้สึกโล่ง ๆ โปร่ง ๆ เบา ๆ ขึ้นมา... ตรงนั้นแหละเราจะรู้สึกได้ สภาวธรรมนี่ถ้าจะพูดไปขยายได้ยาวเลย แต่ ที่เราปฏิบัติ ที่อาจารย์ให้แยกจิตเรามาข้างนอก แล้วทาให้ว่าง ให้กว้าง แลว้ ทถี่ ามวา่ จติ ทเี่ บาวา่ งเคลอื่ นยา้ ยทไี่ ดไ้ หม ใชป้ ระโยชนไ์ ดไ้ หม กเ็ พอื่ ที่ จะได้ใช้งานในชีวิตของเราได้เลย ความเข้าใจค่อยพิจารณาตามมาทีหลัง ให้ใช้งานได้ก่อน พอทาบ่อย ๆ เราก็จะชัดขึ้น บางทีเราเข้าใจ แต่ทาไม่ได้ มันก็เข้าไม่ถึง อยากให้เข้าถึงก่อน ทาได้แล้วค่อยมาทาความเข้าใจ เราก็ จะแตกฉานขึ้น กว้างขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้นไปอีก นั่นแหละคือสภาวธรรม... ยังอยู่ในต้นจิตไหมนี่ ? ธรรมะเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกันเกี่ยวข้องกันหมด
ถ้าจิตเราว่าง ไม่มีตัวตน แล้วพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างไม่มีเรา มีแต่ สติสัมปชัญญะที่จะรู้การทางานของจิต ก่อนที่จะขยับจิตรู้สึกก่อนไหม ตรงนั่นแหละคือการศึกษาจริง ๆ โดยที่ไม่มีการฟันธงไว้ก่อน นั่นคือการ วิจัยว่าทาไมพระพุทธเจ้าถึงสอนอย่างนี้ การเห็นตามที่พระพุทธเจ้าสอน ผลมันเป็นอย่างไร การที่ได้เห็นความจริงตรงนี้ส่งผลเป็นอย่างไร ส่งผล กับอะไร ? หนึ่ง ส่งผลกับตัวเราก่อน สภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร สอง ส่งผลต่อโลกเป็นอย่างไร ถ้าทุกคนมีจิตที่ว่างเบา มีความสุขแบบนี้ โลก จะเป็นอย่างไร จิตคนเราไม่มีความทุกข์ ชีวิตเราไม่ทุกข์แล้ว โลกจะเป็น อย่างไร บรรยากาศในโลกจะเป็นอย่างไร... ไปไหนก็เห็นแต่คนมีความสุข ไม่ใช่ว่าเห็นแต่คนเฉื่อยเงียบไปหมด ถ้าเป็นอย่างนั้นคงแห้งแล้งน่าดูเลย โลกนี้คงไม่น่าอยู่หรอก! จิตที่อิสระจากความทุกข์ ไม่ใช่ว่าเขาต้องเฉย เห็นอะไรก็เฉยไปหมด ถ้าทุกคนเฉยหมด ลองคิดดูสิ เราเจอใครก็เฉย ถ้าที่ทางานทุกคนต่างคนต่างเฉย หันหน้าไปทางไหนก็เฉย ยิ้มให้กันไม่ได้ คิดดูว่าจะเป็นอย่างไร ? ไม่ต้องที่ทางานหรอก ที่บ้านเรา ทุกคนเฉยหมด
































































































   44   45   46   47   48