Page 294 - มรรควิถี
P. 294

280
แลวเปนอยางไร ? ตรงนี้.. เพราะฉะนั้นวิธีกําหนด ตรงนี้ก็คือสภาวะ อยางหนึ่ง พออาการนี้หายไปเปลี่ยนเปนเบาขึ้น โลงขึ้น เราก็รูเขาไปอีก ในความเบา ความวางนั้นตอ เห็นไหมจะไมมีวางเปลา ดวยสมาธิของ เราจะปรากฏแนนอน
อยางสภาวะที่พูดมาเมื่อกี้ รูสึกเปนไง ? นิ่ง ๆ สลัว ๆ โปรง ๆ ใชไหม ? ในความโปรงพอเราเขาไปอีก โปรงมากขึ้น ตรงนี้.. ไมวาจะโปรง โลง เบา เราสามารถเอาจิตเราเขาไปรูตอ รูการเปลี่ยนแปลงของเขาตอไป เพราะความโลง ความโปรง ความเบานั้น ถาเปนความเบาของจิต เปนความ โลงของจิต เขายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู เพราะจิตไมเที่ยง จิตไมเที่ยงมีการ เปลี่ยนแปลงอยูเนือง ๆ เพราะฉะนั้นแมแตความโลงก็มีการเปลี่ยนแปลง เราจึงสามารถกําหนดรูการเปลี่ยนแปลงของเขาได แตความไมเที่ยงของ ความโลง ไมใชวาเดี๋ยวโลงเดี๋ยวหนักอยางเดียว มันอาจจะเดี๋ยวโลงมากขึ้น เบาขึ้น เบาขึ้น โลงขึ้น ใสขึ้น สวางขึ้น นั่นก็คือการเปล่ียนแปลง เพียงแต ใหรูวา แตละขณะเมื่อเราเอาจิตเขาไป เขาเปลี่ยนอยางไร ตรงนี้แหละจุด สําคัญเลย หลักของวิปสสนาตรงนี้
เห็นไหม.. ความรูสึกหรือจิตที่วางก็มีการเปล่ียนแปลง ถารูอยางนี้ เราไมตองกลัวติด ไมตองกลัวติดความวาง ไมตองกลัวติดความโลง ไมตองกลัวติดความสุข เพราะเรามีเจตนาที่จะรูความเปลี่ยนแปลงของเขา อยูแลว มีบางครั้งนักปฏิบัติมีความเขาใจวาไมใหยึดติดสุข ไมใหติดทุกข ไมใหติดในสุข ก็กลัวติดสุข ครั้งกอนโนนจําได เราไมติดสุขแตไปติดอุเบกขา เห็นไหม.. ไมติดสุขแตไปติดอุเบกขา ถามวาติดเหมือนกันไหม ? ก็ติด เหมือนกันอีก ทั้ง ๆ ที่จิตมันไมเที่ยง เราก็ไมยึดอยางใดก็ยึดอยางหนึ่ง ที่จริงอุเบกขาเองก็ตองเอาจิตเขาไปรู แลวเขาเปลี่ยนยังไง ? สังเกตพอเรา เฉย ๆ อาจารยถึงถามวาพอเฉย ๆ ใจที่เฉยกวางหรือแคบ ใจที่เฉยนิ่ง ๆ อยูขางหนาหรือกวางกวาตัว ถากวางเมื่อไหรจากที่เฉยก็จะเปลี่ยนเปนเบา


































































































   292   293   294   295   296