Page 36 - มรรควิถี
P. 36
22
ความรูสึกที่วางทําหนาที่กําหนดความคิด ? ถามีความรูสึกวาเราเปนผู กําหนดความคิด ตัวตนก็เกิดจิตจะรูสึกหนัก ถารูสึกวาความรูสึกที่วาง เปนผูกําหนดความคิดขณะนั้น การกําหนดรูความคิดนั้น เปนการกําหนด อยางไมมีตัวตน มีแตธรรมชาติที่เขาไปรูทัน จิตก็จะเกิดความรูสึกสงบ มั่นคง ตื่นตัว ไมมีตัวตน แลวพิจารณาดูวา ขณะที่เรากําหนดอารมณ เหลานั้นมีความชอบ ไมชอบ เกิดขึ้นหรือเปลา ? เราจะเห็นวาไมมีความ รูสึกชอบหรือไมชอบ ขณะที่กําหนดสภาวะเกิดดับนั้น จิตนิ่งเปนหนึ่ง ตั้งมั่น นี่แหละ คือทางสายกลางไมเกี่ยวกับชอบไมชอบ เปนการเจริญ สติเพื่อมุงสูมรรค ผล นิพพาน ขณะที่กําหนดนั้นจะไมมีกิเลสเขาไป เกี่ยวของเลย จะไมเปนที่อาศัยของกิเลส ไมเปนเหตุใหกิเลสเกิดขึ้นได เพราะไมมีอุปทานใน รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ จึงสักแตวา เปนเชนนั้นเปนธรรมชาติ ถาเรามีเจตนาที่จะพิจารณาทุก ๆ สภาวะใน ลักษณะอยางนี้ ไมวาอารมณไหนเกิดขึ้นก็ตาม อารมณเหลานั้นไมสามารถ ทําใหจิตเราเศราหมอง ไมสามารถทําใหกิเลสเกิดขึ้นได เพราะอะไร ? เพราะเราเขาใจแลววาขันธ ๕ นี้ เปนธรรมชาติที่เปนไปอยางนั้น ไมควร เขาไปยึดเพราะเปนคนละสวนกัน ฉะนั้นเราจึงตองกําหนดรูตามความเปน จริงที่เกิดขึ้น
เวลาเรานั่งปฏิบัติ กําหนดอาการเกิดดับของอารมณ ที่เกิดขึ้นทาง ทวารทั้ง ๖ สําคัญที่สุดก็คือวา เวลาเราพิจารณาอารมณที่เกิดขึ้น เราจะ ตองกําหนดรูถึงลักษณะของอาการพระไตรลักษณ ลักษณะ ๓ อยางนี้ ไดแก ความเปนอนิจจัง คือลักษณะของความไมเที่ยง ไมแนนอน ทุกขัง คือลักษณะของการตั้งอยูในสภาพเดิมไมได อนัตตา คือลักษณะที่บังคับ บัญชาไมไดไมมีตัวตน นี่คือสิ่งที่ตองพิจารณา เวลาเราปฏิบัติแลวมาสง อารมณ อาจารยจึงถามวา อาการแตละอาการเกิดขึ้นแลวดับอยางไร ? หรือขณะที่อาจารยใหฟงเสียง ใชเสียงเปนสื่อนําครั้งแรกเปนอยางไร ?