Page 38 - มรรควิถี
P. 38

24
เพราะยึดรูปนามอันนี้วาเปนตัวเราของเรา ความโกรธจึงไดเกิดขึ้น ความโกรธเกิดขึ้นแลวจะดับอยางไร ? นั่นคือสิ่งที่เราควรหาควรคิด วิธีดับก็คือขยายความโกรธนั้นใหกวางเทากับทองฟา ลองดูวาความโกรธนั้น ตั้งอยูไดไหม ? ขยายแลวความโกรธ ความโกรธนั้นจะหมดแรงและ ดับไปจิตก็วาง แตถาเรากดขมเอาไว ความโกรธยิ่งมีกําลัง ขม ขม ขม บังคับไวตรงนี้หมดเลย ไมยอมปลอยใหออกไปในที่วาง เพราะฉะนั้น การกําหนดรูจึงตองกําหนดรูที่เวทนา ความทุกขที่เกิดขึ้นเพราะความโกรธ ก็คือความอึดอัดใจความเรารอนนั่นเอง ถาแยกเปนคนละสวนเมื่อไหร ก็ดับ เพราะฉะนั้นวิธีคิดอยางหนึ่งก็คือวา ถาอะไรเกิดขึ้นแลวเปนเหตุ แหงทุกข อยาปรุงแตงใหตนเองทุกขมากขึ้น จงปรุงแตงคิดหาวิธีเพื่อที่จะ ดับทุกขใหเร็วที่สุด นั่นจะเปนการคิดไปขางหนา ไมตองมีอาการพิไร รําพัน เพราะการพิไรรําพันตรงนี้แหละ ทําใหความทุกขตั้งอยูนานเสียใจ อยูนาน นั่นคือการสรางกรรม มโนกรรมก็คือคิดซ้ํา ๆ วจีกรรมก็คือพูด กายกรรมคือการกระทําทางกาย มโนกรรมถาเราคิดทําบอย ๆ เปนอนุสัย กิเลสนะ ถาคิดถึงเรื่องที่ทําใหทุกขบอย ๆ ก็สั่งสมทุกขบอย ๆ ถาเรา พิจารณาพยายามทําจิตของเราใหวางบอย ๆ นั่นก็เปนการสรางอนุสัย กุศล อยางที่บอกวาทําบุญไวเปนอนุสัย เปนปจจัยในภายหนาเพื่อความ
หลุดพน
เราปฏิบัติและทําบุญตาง ๆ เพื่ออะไร ? เพื่อความสุข เพื่อความ
หลุดพน ทําบุญไดบุญ ทําปญญาก็ไดปญญา ปฏิบัติเพื่อความหลุดพนก็ได หลุดพน เราจะหลุดพนไดก็ตองปฏิบัติ คือการพัฒนาจิตเราใหมีปญญามาก ขึ้น ใหเขาใจใหรูตามความเปนจริงที่เรียกวา สัมมาทิฎฐิ คือ การเห็นชอบ การเห็นชอบนี่คือการเห็นถูกแลว เห็นวารูปนามอันนี้เปนคนละสวนกัน สังขารขันธ ๕ นี้เปนของวางเปลานะ เราเห็นถูกแลว เมื่อเห็นถูกแลวควร จะทําอยางไร ? ควรหรือที่เราจะไปยึดวารูปเปนของเรา ? เวทนาเปนของ


































































































   36   37   38   39   40