Page 68 - มรรควิถี
P. 68
54
เกิด-ดับ ก็จะเปนสมถะที่มีแตสมาธิ เพราะไมเห็นอาการเกิด-ดับของ อารมณ วิปสสนาปญญาไมเกิด อาการพระไตรลักษณไมปรากฏ ใน ความนิ่งสงบจะตองกําหนดรูถึงอาการนิ่งสงบดวย ความตื่นตัวจึงจะมี กําลังตอเนื่อง
ขณะที่ไดยินเสียง เอาความรูสึกเขาไปกําหนดรูในเสียงนั้น ก็จะ รูสึกวาทั้งไดยิน ทั้งเห็นอาการเกิด-ดับเปลี่ยนแปลงดวย เห็นบัญญัติ และปรมัตถสลับกัน เสียงที่ฟงรูเรื่อง(รูปบัญญัติ) มีลักษณะเปนกลุมกอน เปนคนละสวนกับความรูสึกที่ทําหนาที่กําหนดรู เสียงที่มีอาการเกิด-ดับ (รูปปรมัตถ) ไมเปนกลุมกอน มีอาการเกิด-ดับพรอมกับความรูสึก เมื่อ ยกจิตเขาไปรูอาการเกิด-ดับของเสียง จะเห็นวาอาการเกิด-ดับที่ปรากฏขึ้น ในความวางไมมีรูปราง นั่นเปนอารมณปรมัตถเปนญาณสูงแลว และถา หากรับรูบัญญัติก็เปนบัญญัติที่ไมมีตัวตน เปนญาณที่ ๑ คือแยกรูปแยก นามไดแตไมเห็นอาการเกิด-ดับ แตถามีเจตนาที่จะสังเกตอาการเกิด-ดับ ของอารมณที่เกิดขึ้น สภาวญาณตอไปก็จะปรากฏใหเห็น เห็นวาเวลา เกิด ๆ อยางไร เวลาดับ ๆ อยางไร ถาสติมีกําลังเราสามารถที่จะยกจิตขึ้น สูญาณสูงไดเลย (อารมณที่ละเอียดขึ้นไปอีก) หรือวาจะเริ่มจากญาณต่ํา ก็ได ขึ้นอยูกับเจตนาของเราในขณะนั้น ถาเขาไปรูเขาไปเกาะติดกับอาการ ปรมัตถเลย ก็จะเขาถึงญาณสูงไดอยางรวดเร็ว ทําอยางนี้ไดสติตองมี ความใสคมชัดนะ ตองมีความตื่นตัวมีความนิ่ง จึงเกาะติดหรือจับอารมณ นั้นได เวลาปฏิบัตินี่กําลังของเราขึ้นเปนขณะ ๆ เปนลําดับ ถากําลังเรา ไมถึงเราไมสามารถกระโดดไปถึงตรงนั้นไดในทันที ขึ้นไดนิดเดียวเดี๋ยว ก็ตกลงมาเพราะกําลังไมถึง จะเกาะติดอาการปรมัตถไปไดตลอดสติ ตองมีกําลังมากเปนพิเศษจริง ๆ
การที่เราไมรูลักษณะญาณดีอยางหนึ่งแลวก็ไมดีอยางหนึ่ง ดีนั้น ทําใหเกิดกําลังใจในการปฏิบัติ ไมดีทําใหจิตตกไดงายถาหากไมสมหวัง