Page 88 - มรรควิถี
P. 88

74
ใหมีสติ ใหมีสมาธิมากขึ้น ใหจิตของตนเองมีความบริสุทธิ์มากขึ้น บริสุทธิ์จากอะไร บริสุทธิ์จากกิเลสตาง ๆ นั่นเอง บริสุทธิ์จากความโลภ ความโกรธ ความพยาบาทอาฆาต ความหลงใหลในสิ่งตาง ๆ เมื่อจิตเรา บริสุทธิ์มากขึ้น ความทุกขก็นอยลงไปดวย อยางเชน พิจารณางาย ๆ ขณะที่เราแยกรูป-นาม เห็นวาใจเรากับเสียงเปนคนละสวนกัน เห็นวาใจ กับความคิดเปนคนละสวนกัน ความคิดที่เกิดขึ้นไมวาความคิดนั้นจะ เปนอะไรก็ตาม ก็เปนแคความคิด จะเปนความคิดที่เกี่ยวกับปญหาที่ เราตองคิดก็ตาม ถาใจเรากวางกวาเรื่องราวหรือปญหาที่เราตองคิด ปญหาก็เปนแคปญหา ใจที่รูถึงปญหานั้นก็จะเปนใจที่สงบ หรือใจที่วาง เบา ปญหากับความทุกขก็จะแยกจากกัน ถาใจแยกจากปญหา กวางกวา ปญหา ความทุกขก็ไมเกิด เหลือแตปญหาที่ตองแกไข นี้คือการพิจารณา ถึงสภาวะ ดวยจิตที่เปนอนัตตาคือไมมีตัวตน เมื่อเราเห็นการรับรูอารมณ ดวยจิตที่ไมมีตัวตน ดวยจิตที่วางแลว ตองการยกจิตขึ้นสูวิปสสนา ก็ตองเพิ่มเจตนา เจตนาที่จะเขาไปรูถึงอาการเกิด-ดับ และตองมีเปาหมาย ชัดเจนดวยวา ขณะที่เขาไปรูอาการเกิด-ดับนั้น เราเขาไปรูอาการเกิด-ดับ ของรูป ของเสียง ของกลิ่น ของรส ของการสัมผัสสิ่งตาง ๆ หรือวาไปรู อาการเกิด-ดับของความคิด ตรงนี้ตองชัดเจนนะ ใหยึดเปนหลักในการ กําหนด
ขณะนั่งเจริญสติ อิริยาบถหลักในขณะนั้นก็คืออาการนั่ง กําหนด ลมหายใจเขา-ออก ลมหายใจเขา-ออกเปนอารมณหลัก กําหนดพอง-ยุบ พอง-ยุบเปนอารมณหลัก ในขณะที่เรานั่งกําหนดลมหายใจเขา-ออก สิ่งที่ตองสังเกตก็คือ ลมหายใจเขา-ออกนั้น มีอาการอยางไร เกิดขึ้นและ ดับอยางไร มีอาการเกิดดับในลักษณะอยางไร ขณะที่กําหนดถาเปนการ กําหนดพอง-ยุบ ใหกําหนดในลักษณะเดียวกัน เวลาพองออกไปดับ อยางไร ยุบเขามาดับอยางไร ระหวางพองกับยุบมีอาการเกิด-ดับมั้ย


































































































   86   87   88   89   90