Page 24 - แนวทางการปฏิบัติธรรม
P. 24

18
เป็นการฝึกใช้จิตที่ดีแล้ว จิตที่เบา จิตที่ว่าง จิตที่สงบแล้ว มาทาหน้าที่ รับรู้อารมณ์ แล้วลองดูว่า ถ้าจิตที่เบา ๆ ว่าง ๆ ไปตรงไหน จุดนั้นเป็น อย่างไร ? การที่จะเห็นชัด ต้องอาศัยกายอาศัยรูปที่นั่งอยู่ ตัวเรานี่แหละ ถ้าเอาจิตที่เบา ๆ ไปที่สมอง บริเวณสมองเป็นอย่างไร... มีความโล่งไป มีความเบาไป มีความว่างไป นั่นเราจะเห็นถึงอานุภาพของจิตที่ว่างเบาว่า จติ ทวี่ า่ งเบานนั้ ไปตรงไหน...ตรงนนั้ กว็ า่ งเบา แลว้ เวลาเราไมส่ บายใจ เวลา มีผัสสะเกิดขึ้นมาแล้วมีความทุกข์ ลองเอาจิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ เข้าไปตรง ความทุกข์หรือเวทนาตรงนั้นแทน ให้กว้างให้ใหญ่กว่าเวทนา สมมติว่า มี เวทนามีความไม่สบายใจเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมาบริเวณหทยวัตถุ เราก็ทาจิต ที่ว่าง ๆ ให้กว้างขึ้น แล้วเอาความว่างซ้อนเข้าไปตรงที่เป็นเวทนาที่หนัก ๆ ลองดูว่า เขาอยู่ได้ไหม หรือว่าหายไป ว่างไป ? ถ้าเขาหายไปได้ นั่นแหละ คือวิธีการดับทุกข์ ใช้จิตที่ว่าง ๆ เข้าไปดับทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นเมื่อไหร่เราก็ ดับแบบนี้แหละ ความทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกาหนดรู้ รู้แล้วก็ดับไป ๆ
ทีนี้สังเกตอีกนิดหนึ่ง จิตที่ว่าง ที่เบา ให้ใหญ่กว่าตัว กว้างกว่าตัว พอมาถึงจุดนี้ ลองดูว่า จิตที่เบา ที่สงบ ที่กว้าง ๆ ที่สบาย กับ ตัวที่นั่งอยู่ เขาเป็นส่วนเดียวกัน หรือคนละส่วนกัน การพิจารณาแบบนี้ จะทาให้เห็น ถึงคาที่บอกว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นั้นเป็นอย่างไร เราจะเห็นว่า กายก็นั่งอยู่นิ่ง ๆ ถ้าจิตไม่สั่งให้ขยับ เขาก็ไม่ขยับไม่เคลื่อนไหว ได้แต่นั่ง นิ่งอย่างนั้น เพราะฉะนั้น การพิจารณาการสังเกตแบบนี้ เราจะเห็นถึงจิต กับกาย หรือที่เรียกว่า “รูปกับนาม” อีกชั้นหนึ่ง จะเห็นชัดมากขึ้นว่าจริง ๆ แล้ว จิต กับ ตัว เขาเป็นคนละส่วนกัน เขาแยกกัน ลองสังเกต เมื่อไหร่ที่ เห็นกายกับจิตแยกกัน หรือเห็นตัวกับใจแยกกัน เป็นคนละส่วนกัน แล้ว เหน็ สภาพจติ หรอื เหน็ จติ ใหญก่ วา่ ตวั มาก ๆ กวา้ งกวา่ ตวั เยอะ ๆ จติ ใจรสู้ กึ
































































































   22   23   24   25   26