Page 29 - แนวทางการปฏิบัติธรรม
P. 29

ลมหายใจก็หายไป พองยุบก็หายไปด้วย นั่นยิ่งดีใหญ่ ไม่ต้องกังวลกับ ลมหายใจ ไม่ต้องกังวลกับพองยุบเลย กาหนดความคิดจนหมดก็ทาให้ จิตสงบเกิดขึ้นได้ เพราะฉะน้ัน ความคิดจึงเป็นอารมณ์หนึ่งของอารมณ์ กรรมฐาน พอเกิดขึ้นมาก็ไม่ต้องกังวล ทาใจให้สบาย ๆ แล้วก็มีสติตาม กาหนดรู้ความคิดไป เอาความคิดมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน นี่แหละคือ หลักของการปฏิบัติการนั่งสมาธิในแบบของวิปัสสนากรรมฐาน สติ-สมาธิ เราจะดขี นึ้ กด็ ว้ ยการใสใ่ จอารมณห์ ลกั ทเี่ ปน็ อารมณป์ จั จบุ นั มสี ตอิ ยกู่ บั ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอาการของลมหายใจ หรืออาการพองยุบ หรืออาการ เต้นของหัวใจ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม
ขอให้ผู้ปฏิบัติสังเกตอาการของตนเอง เพราะบางคนหายใจเข้า- ออก ไม่รู้สึกถึงท้องพองยุบ ไม่รู้สึกถึงอาการของลมหายใจ รู้แต่อาการ กระเพื่อมที่บริเวณหทยวัตถุหรือบริเวณหัวใจ หรือบางทีเคยปฏิบัติมา มี สมาธิอยู่แล้ว หรือบางทีไม่เคยปฏิบัติหรอก แต่ทางานบางอย่าง ทาให้มี สมาธิอยู่แล้ว พอนั่งปุ๊บ...จะรู้ลมหายใจก็ไม่มี จะดูพองยุบก็ไม่เกิดขึ้น เหลือแต่การเต้นของหัวใจอย่างเดียว นั่งเมื่อไหร่ก็รู้สึกมีอาการเต้นของ หัวใจเกิดขึ้น ถ้าเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องห่วงลมหายใจ ไม่ต้องห่วงอาการ ของพองยุบ ให้สังเกตอาการเต้นของหัวใจหรืออาการของชีพจรนั่นแหละ ซึ่งจัดเป็นอาการทางกายอย่างหนึ่งที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน ก็ให้กาหนด อารมณ์นั้น ตามรู้จนอาการนั้นหมดไป หรือตามรู้จนหมดบัลลังก์ หมดเวลา ถ้าเราตั้งเวลาไว้ว่าจะนั่งสมาธิสัก ๓๐ นาที พอถึง ๓๐ นาทีก็คลายออก จากกรรมฐาน แล้วก็ทากิจกรรมทาหน้าที่ของเราไป ถ้าใครมีเวลาทาได้บ่อย ๆ ก็เป็นการดี แต่ถ้าไม่มีเวลาจะนั่งสมาธิหรือปฏิบัติเป็นกิจจะลักษณะแบบนี้ มากนัก ก็ทาเป็นระยะ ช่วงไหนว่าง ๆ มีเวลาเมื่อไหร่ก็ปฏิบัติไป
23
































































































   27   28   29   30   31