Page 44 - แนวทางการปฏิบัติธรรม
P. 44
38
หลักของวิปัสสนา คือ ให้ผู้ปฏิบัตินั้นเข้าไปพิจารณาถึงอาการ พระไตรลกั ษณ์ สงิ่ ทเี่ ราตอ้ งศกึ ษา กค็ อื สจั ธรรมความเปน็ จรงิ ของสงิ่ ทงั้ ปวง ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ภายนอกหรือภายใน อารมณ์ที่ปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็คือภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่สัมผัส รส ที่กระทบลิ้น เย็น-ร้อน-อ่อน-แข็งเคร่ง-ตึงที่กระทบกาย ความสุข-ทุกข์ ปรากฏที่ใจของเรา ความว่างที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ไม่ว่าอารมณ์ไหน เกิดขึ้นมาก็ตาม ให้ผู้ปฏิบัติสนใจอาการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ยิ่งเห็น การเปลี่ยนแปลงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปชัดเจน สติ-สมาธิ-ปัญญายิ่ง แก่กล้าขึ้น ที่เรียกว่า “อินทรีย์ห้า” “พละห้า” เมื่ออินทรีย์ทั้งห้าแก่กล้าขึ้น ศรัทธา-วิริยะ-สติ-สมาธิ-ปัญญาแก่กล้าขึ้น ยิ่งเห็นชัดถึงความเป็นจริง ของรูปนามขันธ์ห้ามากเท่าไหร่ (เห็นชัด ก็คือ รู้แจ่มแจ้งชัดเจนด้วยสติ- สมาธิ-ปัญญาของตนเองนี่แหละ) จะทาให้ผู้นั้นยิ่งคลายอุปาทานมากขึ้น เท่านั้น กิเลสตัวโมหะ ความหลง หรืออวิชชาที่เคยครอบงาจิตใจอยู่ ก็จะ ค่อย ๆ สลายไป สติดีขึ้น สมาธิดีขึ้น ปัญญาเกิดขึ้นมา แสงสว่างก็เกิด ขึ้นมา... เป็นแสงสว่างที่เกิดจากปัญญาเห็นชัดถึงความเป็นจริง รู้ว่าอะไร สาคัญหรือไม่สาคัญกับชีวิต รู้ว่าอะไรที่ทาให้ชีวิตนี้มีความทุกข์หรือความสุข ก็จะรู้จักเลือกว่าเราควรจะทาอย่างไร
เรามักจะถามว่า จะวางจิตอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์กับอารมณ์ที่เกิด ขึ้น ? ถ้าปัญญาไม่เกิดขึ้น เราก็วางใจได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัย การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาถึงความเป็นไปของรูปนามขันธ์ห้า ที่เกิดในปัจจุบันขณะนี่แหละที่จะทาให้คนเราคลายจากอุปาทานได้ การ พิจารณารูปนามขันธ์ห้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ จิตไม่ต้องสร้าง ไม่ต้อง ปรุงแต่ง เพราะสภาวธรรมเหล่านี้จะสลับกันเกิดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ลอง