Page 24 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 24

-  เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม เพราะในบางครั้งไม่อาจใช้ประสาทสัมผัส (Sense) ได้ เช่น การตรวจสอบ

               ระดับความเข้มข้นในการสัมผัสกับสารเคมี เสียง รังสี หรือเชื้อโรค เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์พิเศษบางชนิดที่มี

               ความจําเป็นต่อการวิเคราะห์อันตรายในเชิงลึก (In–depth Hazard Analysis)

                         -  อาจมีความจําเป็นต้องใช้การถ่ายรูปหรือวีดีโอเพื่อการศึกษาและอ้างอิง (โดยเฉพาะงานที่มีความละเอียด


               ค่อนข้างมาก)

                         [3] ประเมินและเสนอแนะมาตรการป้องกันอันตรายหรือปรับปรุงแก้ไขในแต่ละขั้นตอนการทํางาน

                         เมื่อได้ทําการแบ่งแยกงาน และค้นหาหรือแจกแจงอันตรายที่มีอยู่ หรือซ่อนเร้นในแต่ละขั้นตอนการ

               ทํางานเรียงตามลําดับอย่างถูกต้องแล้ว ทีมงานวิเคราะห์ ฯ ก็จะนําข้อมูลลักษณะอันตรายต่าง ๆ ที่ได้แจกแจงแล้ว

               ทั้งหมดมาประเมินว่าอันตรายประเภทนั้น ๆ ควรที่จะเลือกใช้มาตรการใดในการป้องกัน และ/หรือควรที่จะมี

               การปรับปรุงแก้ไขวิธีปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนการทํางาน หรือมีความจําเป็นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

               ขั้นตอนการทํางานเสียใหม่ให้มีความถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยเพียงพอ เพื่อที่จะได้สร้างความมั่นใจและ

               เป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ รวมถึงเข้าใจถึงเหตุผลที่เลือกดําเนินการป้องกันอันตราย

               โดยมาตรการนั้น ๆ และพร้อมที่จะปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของทีมงานวิเคราะห์ ฯ


               แนวทางในการพิจารณาเลือกใช้มาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันอันตราย (Preventative Measures)

                           ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สาเหตุหรือปัจจัยพื้นฐานที่มีส่วนก่อให้เกิดอันตรายและนํามาซึ่งอุบัติเหตุ

               นั้น จะมีส่วนสัมพันธ์กัน ดังนี้

                         [1.]    แหล่งพลังงานและอุปกรณ์เทคนิค เช่น เครื่องจักร ไฟฟ้า ความร้อน สารกัมมันตรังสี ฯลฯ

                         [2.]    ตัวผู้ปฏิบัติงาน เช่น พฤติกรรม ประสบการณ์ สรีระ สภาพจิตใจ แรงจูงใจ และทัศนคติ

                         [3.]    สภาพแวดล้อมในการทํางาน เช่น ความสะอาด แสงสว่าง คุณภาพอากาศ ฯลฯ

                         [4.]    ระบบบริหารจัดการความปลอดภัย เช่น การออกแบบงาน วิธีการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม

               ฯลฯ

                         ดังนั้นเมื่อทราบถึงลักษณะอันตรายตามที่ได้ค้นหาหรือแจกแจงไว้แล้ว ก็ควรพิจารณาด้วยว่าเป็นผลสืบ


               เนื่องมาจากปัจจัยใด เพื่อที่จะได้เลือกใช้มาตรการที่มีความเหมาะสมในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

               หลักการทั่วไปในการป้องกันอันตราย

                         * ควบคุมที่แหล่งกําเนิด (Source) คือ การควบคุมที่ต้นตอหรือแหล่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

               เช่น แหล่งพลังงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ จัดว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29