Page 19 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 19
1.2.6. ประเมินประสิทธิภาพ
1.2.7. ทบทวนแก้ไข
1.2.8. ตรวจสอบเป็นระยะ
การที่จะวิเคราะห์อันตรายในงานได้อย่างสําเร็จลุล่วงหรือมีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารต้องแสดงเจตจํานง
หรือพันธะสัญญา (Commitment) ที่แสดงให้เห็นว่าตระหนักและให้ความสําคัญกับความปลอดภัยและ
สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน โดยมีเจตนาอย่างจริงใจที่จะดําเนินการพิจารณาข้อเสนอของทีมงานวิเคราะห์ ฯ ใน
การป้องกันอันตรายทุกประเภทที่แจกแจงได้จากการวิเคราะห์อันตรายในงาน และพร้อมที่จะสนับสนุนบุคลากร
เวลา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการปรับปรุงงาน เพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้นและเป็นไปอย่างราบรื่น
มิเช่นนั้นแล้ว ข้อมูลจากการวิเคราะห์อันตรายในงานก็จะเป็นเพียงแค่เศษกระดาษแผ่นหนึ่ง รวมทั้ง
ผู้บริหารก็จะเสียความน่าเชื่อถือ และผู้ปฏิบัติงานเองก็จะลังเลใจ ไม่กล้าเข้าไปพบหรือให้ข้อมูลที่แท้จริงยามที่
เกิดเหตุการณ์ เพราะคิดว่าเสียเวลาและป่วยการ อันจะส่งผลเสียให้เกิดเหตุการณ์ซํ้าซากเรื่อยไปโดยไม่ทราบ
ข้อเท็จจริง ซึ่งถือว่าเป็น “หายนะ” อย่างแท้จริง
ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกผู้วิเคราะห์งาน
เป็นขั้นตอนที่มีความสําคัญที่สุด และมีผลโดยตรงต่อความสําเร็จในการวิเคราะห์อันตรายในงาน ผู้ที่ถูก
คัดเลือกหรือมอบหมายให้ทําหน้าที่นี้ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย หรือ
อย่างน้อยต้องมีประสบการณ์ในการทํางานด้านความปลอดภัยมาก่อน
นอกจากนี้ควรมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดีในระบบงาน กระบวนการหรือขั้นตอนในการทํางาน
และรู้การทํางานของเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้ จะมีส่วนช่วยให้ผู้วิเคราะห์สามารถ
ค้นหาหรือแจกแจงอันตรายที่มีอยู่หรือซ่อนเร้นในงานที่ทําได้ และสามารถที่จะประเมินพร้อมเสนอแนะ
มาตรการในการป้องกันอันตรายเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแล้ว จะใช้การจัดตั้งเป็นทีมงานวิเคราะห์
ฯ ขึ้นมา อาจประกอบไปด้วย วิศวกรโรงงาน วิศวกรซ่อมบํารุง วิศวกรฝ่ายผลิตวิศวกรความปลอดภัย หัวหน้า
แผนกงาน และ/หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ในการทํางานหรือมีความเหมาะสมในแผนกงานนั้น ๆ โดยมี
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเป็นผู้ประสานงานอย่างใกล้ชิด ข้อดีของการมีผู้วิเคราะห์งานหลายคน คือ
จะมีส่วนช่วยในแง่ของความรอบคอบในการวิเคราะห์ รวมถึงการรับรู้ ยอมรับและเชื่อมั่นในผลของการ
วิเคราะห์ได้อีกทางหนึ่งด้วย