Page 17 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 17

บทที่ 2


                                     การวิเคราะห์อันตรายและการประเมินความเสี่ยง


                       ปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมา มีผู้ปฏิบัติงานจํานวนไม่น้อยที่ต้องประสบอุบัติเหตุจากการทํางาน เป็นผลให้

               ได้รับบาดเจ็บ พิการ บางครั้งก็ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง

               หรือคนใกล้ชิด จึงถือเป็นความรับผิดชอบแรกเริ่มของเจ้าของกิจการ ที่ต้องมีจิตสํานึกและให้ความใส่ใจในเรื่อง

               ของความปลอดภัยตลอดจนสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นอันดับแรก มากกว่าที่จะคิดมุ่งหวังเอาแต่ผล

               กําไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง โดยไม่คํานึงถึงตัวผู้ปฏิบัติงานเลย

                       เราคงจะปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุจากการทํางานแล้ว ย่อมมีผลเสียตามมา


               หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าชดเชย การเสียเวลาเนื่องจากงานต้องหยุดชะงัก การถูกสอบสวน เกิดความเสียหายกับ

               เครื่องจักรหรือทรัพย์สิน การเสียชื่อเสียงและโอกาสในการแข่งขัน รวมไปถึงความเชื่อมั่นและขวัญกําลังใจของ

               ผู้ปฏิบัติงาน

                       ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องมีการวางแผนงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

               เพื่อป้องกันอันตรายในเชิงรุก ทั้งยังสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานได้อีกทางหนึ่งด้วย สําหรับการวิเคราะห์

               อันตรายในงานนั้น เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของแผนงาน ฯ แต่ว่าเป็นส่วนที่สําคัญและจะขาดไปไม่ได้เลย

               เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานของความปลอดภัยซึ่งเกี่ยวข้องกับงานที่ทําโดยตรง


               1.      การวิเคราะห์อันตรายในงาน (Job Hazard Analysis: JHA)

                       กระบวนการหรือเทคนิคเชิงรุกที่จะพุ่งเป้าไปยังงานที่มีลักษณะพิเศษ (Special Tasks) เพื่อที่จะค้นหา

               หรือแจกแจง (Identification) อันตราย ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ขึ้น โดยมองถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัว


               ผู้ปฏิบัติงาน งานที่ทํา กระบวนการ/ปฏิบัติการหรือระบบ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ และ

               สภาพแวดล้อมในการทํางาน เมื่อแจกแจงอันตรายต่าง ๆ แล้ว ก็จะนําไปประเมินและพิจารณาแก้ไข หรือจัดสรร

               มาตรการที่เหมาะสมและเพียงพอในการขจัด ลด ป้องกัน หรือควบคุมอันตรายในงานเหล่านั้น ให้มีความเสี่ยง

               (Risks) ที่จะเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุด หรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ หมายเหตุ ในบางตํารา จะใช้คําว่าการวิเคราะห์

               งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis: JSA)

                       1.1    วัตถุประสงค์และประโยชน์

                              1.1.1.  เป้าหมายสูงสุด คือ ป้องกันเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22