Page 18 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 18
1.1.2. ทําให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม รับทราบ เข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายที่มี
อยู่หรือซ่อนเร้นอยู่ในงานที่ทํา ลดพฤติกรรมเสี่ยง ยอมรับและปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่าง
ปลอดภัย รวมถึงปลูกฝังให้มีการระมัดระวังและเตรียมพร้อมในการทํางานมากขึ้น
1.1.3. พัฒนาการสื่อสาร ทัศนคติ และความร่วมมือในการทํางานระหว่างหัวหน้างานและ
ผู้ปฏิบัติงานให้มากขึ้น
1.1.4.ใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยในการปฐมนิเทศหรือฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นแนวทาง
สําหรับการทํางานที่ไม่ใช่งานประจํา (Infrequent jobs) เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
1.1.5. ใช้เป็นฐานข้อมูลที่ช่วยในการตรวจสอบ (Inspections) หรือสังเกตการณ์ (Observations)
รวมถึงการสืบสวนเหตุการณ์ (Incident Investigations) ที่เกิดขึ้น
1.1.6. พัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย
ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการขาดงาน การจ่ายเงินค่าทดแทน ลดค่าเสียหายของทรัพย์สินและเวลา รวมถึงนําไปสู่
การเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย
1.1.7. สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนงาน และเตรียมพร้อมที่จะดําเนินการสําหรับ
งาน/โครงการที่กําหนดขึ้นมา
1.2 ขั้นตอนในการวิเคราะห์อันตรายในงาน
1.2.1. คัดเลือกผู้วิเคราะห์งาน
1.2.2. เลือกงานที่จะวิเคราะห์
1.2.3. ดําเนินการวิเคราะห์
แบ่งแยกงานที่วิเคราะห์ออกเป็นขั้นตอนการทํางานตามลําดับ
ค้นหาหรือแจกแจงอันตรายที่มีอยู่หรือซ่อนเร้นในแต่ละขั้นตอนการทํางาน
ประเมินและเสนอแนะมาตรการป้องกันอันตราย หรือปรับปรุงแก้ไขในแต่ละ
ขั้นตอนการทํางาน
1.2.4. เขียนคู่มือมาตรฐานการทํางานอย่างปลอดภัย ซึ่งประมวลได้จากการวิเคราะห์อันตราย
ในงาน
1.2.5. นําไปปฏิบัติ