Page 20 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 20
ขั้นตอนที่ 2 เลือกงานที่จะวิเคราะห์
โดยหลักการแล้วงานทุกงานควรที่จะได้รับการวิเคราะห์อันตรายในงาน ไม่ว่าจะเป็นงานประจําหรือ
งานที่มีลักษณะพิเศษ (Special Tasks) เพื่อที่จะได้จัดทําเป็นคู่มือมาตรฐานการทํางานอย่างปลอดภัย (Safety
Standard Operating Procedure: SSOP) แต่เนื่องจากมีข้อจํากัดต่าง ๆ เช่น ระยะเวลา บุคลากร งานเร่งด่วน ความ
ยุ่งยากสลับซับซ้อน เป็นต้น จึงมีความจําเป็นที่ต้องใช้การเลือกงานเป็นบางงานมาทําการวิเคราะห์ โดยมี
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกงานที่จะนํามาวิเคราะห์เรียงตามลําดับ (Priority) ของระดับอันตรายและ
ความสําคัญ ดังนี้ คือ
* งานที่มีสถิติหรือรายงานที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการได้รับบาดเจ็บ พิการ ตาย หรือเจ็บป่วยสูงที่สุด โดย
พิจารณาจากความถี่ของอุบัติเหตุและความรุนแรงของผลที่ตามมา
* งานที่หวุดหวิดหรือเกือบที่จะเกิดอุบัติเหตุ (Close Calls/Near Miss) ซึ่งหมายถึงงานที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
* งานที่มีโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ ตาย หรือเจ็บป่วย แม้ว่าจะไม่เคยมี
ประวัติมาก่อนหน้านี้ก็ตาม โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของงาน เช่น ลักษณะงาน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ แล้ว
ประเมินความเสี่ยง (Risks) ของโอกาสการเกิดอุบัติเหตุออกมาว่ามากน้อยเพียงไรในแต่ละงาน
* งานใหม่
* งานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ (Process) หรือขั้นตอนการทํางาน (Procedure) หรือ
เปลี่ยนแปลงเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการทํางาน
* งานไม่ประจํา (Infrequent jobs) หรืองานพิเศษ
ขั้นตอนที่ 3 ดําเนินการวิเคราะห์
[1] แบ่งแยกงานที่วิเคราะห์ออกเป็นขั้นตอนการทํางานเรียงตามลําดับ
เมื่อคัดเลือกงานและมีทีมงานที่จะทําการวิเคราะห์แล้ว ขั้นตอนต่อไป ให้ปฏิบัติตามรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
* ทีมงานวิเคราะห์ ฯ ต้องเข้าไปชี้แจง ทําความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานที่ทํางานนั้น ๆ ก่อน เพื่อให้
ผู้ปฏิบัติงานเหล่านั้นได้รับทราบและให้ความร่วมมือ โดยให้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ และความจําเป็นที่ต้อง
กระทําการวิเคราะห์งานว่าเป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงอันตราย สาเหตุพื้นฐาน เพื่อขจัดหรือควบคุมอันตราย
เหล่านั้น มิใช่เป็นการเฝ้าสังเกตเพื่อจับผิดพนักงาน โดยทีมงานควรคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานอาจจะหนึ่งคนหรือ