Page 13 - บทที่4-60
P. 13

การด าเนินโรคนั้นเป็นมาระยะหนึ่งโดยเชื้อจะผ่านเข้าทางหลอดเลือดซึ่งผู้ป่วยมักมีประวัติการติดเชื้อราที่

               อวัยวะส่วนอื่นของร่างกายมาก่อน เช่น ปอด ผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ จากนั้นเชื้อจึงจะมีการลุกลามเข้าสู่

               ระบบประสาท เชื้อราที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่พบบ่อย คือ Cryptococcus neoformans, Candida

               albicans, Mucor และ Aspergillus fumigatus ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะที่พบ เช่น ผู้ป่วยเอดส์มักมีความ

               เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ Cryptococcus neoformans ส่วนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อบริเวณจมูกและโพรงไซนัสจะมี

               การลุกลามของเชื้อ Mucor เข้าสู่ระบบประสาทได้โดยตรงซึ่งพบว่าการติดเชื้อในลักษณะเช่นนี้พบได้บ่อยใน
               ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น ส่วนอาการทางคลินิกพบคล้ายกับเยื่อหุ้มสมองติดเชื้อจากเชื้ออื่นๆ ลักษณะ

               เฉพาะที่ส าคัญจากการตรวจทางระบบประสาทคือ ขั้วประสาทตาบวม (papilledema) จากการตรวจจอ

               ประสาทตาด้วย ophthalmoscope ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการเพิ่มของความดันน้ าไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ

               มาระยะเวลาหนึ่ง






                                                              รูปแสดง papilledema พบว่าขอบขั้วประสาทตาหายไป (ลูกศร)

                                                                         ร่วมกับมีการขยายของหลอดเลือด


                                                                       แหล่งที่มา http://www.eyeweb.org





                       การตรวจทางห้องปฏิบัติการของน้ าไขสันหลังในพบว่าจะมีความดันของน้ าไขสันหลังเพิ่มสูงขึ้น

               ลักษณะภายนอกของน้ าไขสันหลังมีสีขุ่นเล็กน้อยมีปริมาณของเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte เพิ่มสูงขึ้น

               การย้อมสีน้ าไขสันหลังด้วย India ink อาจพบ encapsulated budding fungus ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ

               Cryptococcus neoformans การตรวจทางชีวเคมีของน้ าไขสันหลังพบระดับของโปรตีนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย

               ส่วนระดับของน้ าตาลลดต่ าลงเล็กน้อยหรืออยู่ในระดับปกติ




                                                                        รูปแสดงการย้อมสี India ink อาจพบ

                                                                          encapsulated budding fungus


                                                                   แหล่งที่มา http://www-sequence.stanford.ed







                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18