Page 11 - บทที่4-60
P. 11

เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อไวรัส (Viral meningitis)


                       เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสมีอาการและอาการแสดงทางคลินิกคล้ายคลึงกับการติด

               เชื้อแบคทีเรียแต่การวินิจฉัยอาจไม่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสได้ด้วยวิธีธรรมดาในน้ าไขสันหลังเหมือนเชื้อ

               แบคทีเรีย เช่น การย้อมสีน้ าไขสันหลัง การติดเชื้อไวรัสอาจพบร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียได้ เชื้อไวรัสที่

               ก่อโรคส่วนใหญ่ ได้แก่ Enteroviruses, Cytomegalovirus, Epstein-barr virus, Adenoviruses เป็นต้น การ

               ด าเนินของโรคถือว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาต้านจุลชีพ

               ผู้ป่วยมักมีประวัติการติดเชื้อไวรัสน ามาก่อนในระบบต่างๆ ของร่างกายซึ่งส่วนมากพบที่ระบบทางเดิน

               หายใจ

                       การตรวจทางห้องปฏิบัติการของน้ าไขสันหลังจากเชื้อไวรัส พบว่าจะมีความดันของน้ าไขสันหลังอยู่

               ในเกณฑ์ปกติ ลักษณะภายนอกของน้ าไขสันหลังพบว่ามีใสไม่มีสี มีปริมาณของเม็ดเลือดขาวชนิด

               lymphocyte เพิ่มสูงขึ้น การตรวจทางชีวเคมีของน้ าไขสันหลังพบระดับของโปรตีนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย

               ในขณะที่ระดับของน้ าตาลส่วนมากอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดต่ าลงกว่าปกติเล็กน้อย


                                    เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อวัณโรค (Tuberculous meningitis)


                       เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อวัณโรคเป็นการติดเชื้อที่ส าคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบบ่อยใน

               ประเทศภูมิภาคเขตร้อน วินิจฉัยโดยการตรวจพบว่ามีหลักฐานการติดเชื้อวัณโรคในน้ าไขสันหลัง มักเกิด

               จากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจเป็น

               เชื้อวัณโรคชนิด Mycobacterium avium intracellulare ซึ่งถือว่าเป็นการติดเชื้อที่ค่อนข้างมีความรุนแรงใน

               ระยะของการด าเนินโรค


                       อาการและอาการแสดงทางคลินิก ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย สับสน มีการเปลี่ยนแปลงของ

               การรับรู้และอาเจียนเนื่องจากมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้นร่วมกับมีอาการแสดงของการระคาย
               เคืองต่อเยื่อหุ้มสมองได้เช่นเดียวกันกับเชื้อก่อโรคอื่นๆ ผู้ป่วยอาจมีประวัติการติดเชื้อวัณโรคของอวัยวะอื่น

               น ามาก่อนได้ เช่น วัณโรคปอด วัณโรคต่อมน้ าเหลือง ผลแทรกซ้อนที่ส าคัญของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจาก

               เชื้อวัณโรคคือ การอักเสบและการเกิดพังผืดที่เยื่อหุ้มสมองชั้น arachnoid ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะ

               obstructive hydrocephalus ตามมาและนอกจากนี้ยังพบการอักเสบของหลอดเลือด (obliterative

               endarteritis) ร่วมด้วยท าให้เกิดการอุดตันและท าให้สมองเกิดการขาดเลือดซึ่งจะท าให้ผู้ป่วยมีอาการแสดง

               ทางระบบประสาทเนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง




                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16