Page 7 - บทที่4-60
P. 7
ความผิดปกติทางคลินิกที่พบบ่อย
เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อ (Meningitis)
เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อเป็นการติดเชื้อและมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง (leptomeninges) และน้ าไข
สันหลังภายในช่อง subarachnoid ผู้ป่วยจะมีอาการที่ส าคัญ ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะและมีอาการแสดงของการ
ระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มสมอง (meningeal irritation) เช่น คอตึงแข็ง (neck stiffness) ในผู้ใหญ่ หรือ Kernig’s
sign และ Brudzinski’s sign ในเด็กเล็ก เป็นต้น บางรายอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงของการรับรู้สติ เช่น
อาการสับสน ซึม นอกจากนี้อาจมีอาการแสดงที่เกิดจาก ความผิดปกติของวิถีประสาท เช่น อาการอ่อน
แรง การตอบสนองต่อรีเฟล็กซ์ที่ผิดปกติร่วมด้วย หากพบว่ามีการติดเชื้อลุกลามเข้ามาที่บริเวณเนื้อสมอง
อาจท าให้มีอาการชักเกร็งหรือมีอาการแสดงที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของความดันน้ าไขสันหลัง เช่น อาการ
ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาเจียนพุ่ง ตาพร่ามัว
ชนิดและความรุนแรงของอาการเยื่อหุ้มสมองติดเชื้อขึ้นอยู่กับเชื้อก่อโรคที่เป็นต้นเหตุ การ
วินิจฉัยโรคอาศัยลักษณะของอาการและอาการแสดงที่ส าคัญและต้องมีการตรวจพบความผิดปกติของน้ า
ไขสันหลังทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย
ในทางคลินิกแบ่งการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมองตามระยะเวลาของการเกิดโรคออกเป็น 3 ชนิด
ได้แก่
เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อเฉียบพลัน (Acute meningitis) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา
7 วัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อกึ่งเฉียบพลัน (Subacute meningitis) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายใน
ระยะเวลา 7-14 วัน ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อปรสิต
เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic meningitis) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายหลัง 14 วัน ซึ่ง
มักเกิดจากเชื้อวัณโรค เชื้อรา
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560