Page 20 - บทที่4-60
P. 20
ส่วนการติดต่อโดยการกินไข่พยาธิเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ได้แก่จากอาหารและน้ าดื่มที่มีการปนเปื้อนของ
ไข่ จากพฤติกรรมที่ผิดสุขลักษณะท าให้ไข่ปนเปื้อนที่มือจากก้นมาสู่ปาก (fecal-oral autoinoculation) และ
จากการที่ล าไส้บีบตัวย้อนทิศทางน าส่วนปล้องที่มีไข่จากล าไส้มายังกระเพาะอาหาร (autoinfection) เมื่อตัว
อ่อนฝังตัวที่เนื้อเยื่อจะมีการสร้างผนัง cyst ขึ้นในสมอง เรียกว่า Cysticercus cellulosae มักอยู่ภายในเนื้อ
สมองภายในมี Scolex และ Cysticercus racemosus มีลักษณะเหมือนพวงองุ่น มักอยู่ที่บริเวณ Basal
Subarachnoid space ซึ่งไม่พบตัวอ่อนใน cyst
อาการแสดงทางคลินิกที่พบบ่อย ได้แก่ อาการชัก อาการแสดงของการเพิ่มความดันในกะโหลก
ศีรษะ อาการแสดงความผิดปกติของระบบประสาทเฉพาะที่ การเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว ความ
ผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ก้อนใต้ผิวหนัง (Subcutaneous nodule) เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัยได้แก่ การตรวจเลือดซึ่งจะพบว่ามีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil สูงขึ้นการ
ตรวจน้ าไขสันหลังอาจมี eosinophil ประมาณ 12-60% และการตรวจอุจจาระมีโอกาสพบไข่ในอุจจาระได้
การตรวจทางอิมมูโนวิทยาโดยการตรวจระดับ Cysticercosis antibody titer โดยวิธี Enzyme-Linked
Immunosorbent assay (ELISA) ในซีรั่มและในน้ าไขสันหลัง
สมองอักเสบจากเชื้อพิษสุนัขบ้า (Rabies encephalitis)
Rabies เป็นโรคติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน (เรียกว่า zoonosis) โดยคนถูกกัดจากสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสนี้
โรคนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ‘โรคกลัวน้ า’ เพราะผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ า เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ซึ่ง
จะอยู่ในน้ าลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ มีชื่อว่า Lyssavirus โดยเชื้อจะท าให้เกิดภาวะสมองอักเสบทั้งในคนและ
สัตว์ แต่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสแล้ว ถ้าได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าและสารภูมิคุ้มกันต้านทาน (Immunoglobulin) อย่าง
รวดเร็วเหมาะสมก็จะไม่เป็นโรค แต่ถ้าไม่ได้การรักษาดังกล่าวก็จะป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งไม่มียารักษา
และเสียชีวิตในที่สุด คนจะติดเชื้อจากสัตว์เหล่านี้ได้โดยจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัดข่วนหรือเลียผิวหนังที่มี
บาดแผล โดยเชื้อไวรัสจากน้ าลายของสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าอยู่จะเข้าสู่ผิวหนังที่มีบาดแผล นอกจากนี้
เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายผ่านเยื่อบุต่างๆคือ ปาก เยื่อบุตา ได้เช่นกัน จากการหายใจเอาละอองไอน้ าที่มีเชื้อ
โรคอยู่ซึ่งพบได้น้อยมากมาก เช่น การเข้าไปในถ้ าที่มีค้างคาวอยู่กันเป็นล้านๆตัว หรือเจ้าหน้าที่ในห้องแลป
ที่ท างานเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ มีรายงานว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากการเปลี่ยนถ่ายกระจกตา
ประมาณ 8 รายจากทั่วโลก และจากการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะอื่นๆประมาณ 3 ราย ซึ่งอาจเกิดจากผู้ป่วยเป็น
โรคพิษสุนัขบ้า แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยในตอนแรก
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560